การวิเคราะห์อภิมานปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรียตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

Main Article Content

พรพิมล ประดิษฐ์
สิริมา มงคลสัมฤทธิ์
เกษร สำเภาทอง

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

            รูปแบบการศึกษาเป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานงานวิจัย ทำการสืบค้นบทความวิจัยจากระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2500-2556 และวิเคราะห์ขนาดความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย โดยวิธีการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยด้วย Cochran’s Q test เพื่อหาค่า Odds Ratio และ 95% Confidence Interval ของแต่ละปัจจัย

            จากการสืบค้น พบบทความจำนวน 105, 132 เรื่อง มีเพียง 7 เรื่องที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและการประเมินคุณภาพบทความ ขนาดความสัมพันธ์ของปัจจัยตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรียพบว่า ผู้ที่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงการเกิดโรคไข้มาลาเรียมีพฤติกรรมป้องกันโรคเป็น 2.04 เท่าของผู้ที่ไม่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยง (p < .001) ผู้ที่มีการรับรู้ความรุนแรงของโรคมีพฤติกรรมป้องกันโรคไข้มาลาเรียเป็น 1.52 เท่าของผู้ที่ไม่มีการรับรู้ความรุนแรง (p = .003) ผู้ที่รับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคมีพฤติกรรมป้องกันโรคไข้มาลาเรียเป็น 3.18 เท่าของผู้ที่ไม่รับรู้ประโยชน์ (p < .001) และผู้ที่ไม่รับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคไข้มาลาเรียมีพฤติกรรมป้องกันโรคไข้มาลาเรียเป็น 1.59 เท่าของผู้ที่รับรู้อุปสรรค (p = .001)

           ปัจจัยตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย จึงควรพิจารณาปัจจัยเหล่านี้มาเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้มาลาเรีย 

 

           The objective of this study was to determine factors associated with protective behavior to malaria infection based on Health Belief Model.

           The study design was systematic review and meta analysis. Electronic database including PubMed, Malaria Journal, Malaria World Journal, ThaiLIS and Library of Disease Control Division Ministry of Public Health were used to select articles from  year 1957-2013. Cochran’s Q test  was used  to analyse  the meta-analysis  for  pooled  Odds Ratio  with 95% Confidence Interval of each factor. 

           We found 105, 132 articles. There were 7 articles matching the inclusion criteria and quality assessment. The findings showed that people who perceived susceptibility of malaria disease had protective behavior 2.04 times of those who had not (p < .001). People who had perceived severity of malaria disease had protective behavior 1.52 times of those who had not (p = .003). People who had perceived protective benefits regarding malaria disease had protective behavior 3.18 times of those who had not (p < .001). People who had not perceived  barriers of health promoting behaviors of malaria disease protection had protective behavior 1.59 times of those who had perceived barriers of health promoting behaviors (p = .001).

           We conclude that perceived susceptibility, perceived severity, perceived protective benefits  and  perceived barriers of health promoting behaviors are associated with  protective behavior for malaria disease. These factors should be considered for health promotion program.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ