ผลการสอนแบบ 4MAT ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทักษะทางปัญญาด้านการคิดวิเคราะห์เป็นทักษะจำเป็นในมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา จากผลการประเมินนักศึกษาพบอยู่ในระดับต่ำ อาจารย์ผู้สอนจึงต้องหาวิธีการสอนที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ซึ่งการสอนแบบ 4MAT สามารถพัฒนาทักษะนี้ได้
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาลก่อน และหลังการสอนแบบ 4MAT และระหว่างกลุ่มที่สอน 4MAT กับกลุ่มที่สอนตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี 3 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 118 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มด้วยวิธีจับคู่คะแนนที่ใกล้เคียงกัน ได้กลุ่มทดลอง 59 คน และกลุ่มควบคุม 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการสอนแบบ 4MAT และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มที่ได้รับการสอนแบบ 4MAT หลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาลหลังทดลอง กลุ่มที่ได้รับการสอนแบบ 4MAT สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า การสอนแบบ 4MAT มีประโยชน์ในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการพยาบาล และส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลทั้งรายบุคคลและภายในกลุ่ม จึงควรสนับสนุนให้มีการเรียนการสอนด้วยวิธีนี้อย่างแพร่หลาย
Cognitive skill especially analytical thinking ability is one of the learning outcomes within the framework of Higher Education Qualifications. The evaluation of this skill at Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province revealed a low level. Therefore, nursing instructors must apply teaching methods that encourage analytical thinking. The 4MAT teaching has advantages in developing this skill. The aim of the study was to compare the analytical thinking ability of nursing students before and after 4MAT teaching method, and between experimental and control groups.
This quasi-experimental research participants consisted of 118 third year nursing students, equally assigned into control and experimental groups by match paired according to the scores of this subject. In the experimental group 4MAT teaching method was applied, whereas the control group received regular teaching. Research instruments were 4 lesson plans of 4 MAT teaching method and analytical thinking ability scale (reliability at 0.86). Data were analyzed using descriptive statistics, independent t-test and paired t-test.
The results were as follows: (1) The analytical thinking ability in the experimental group after completion of 4MAT teaching program was significantly higher than before, at 0.001 level. (2) The analytical thinking ability in the experimental group compared to the control group was significantly higher after completion of the respective teaching program, at 0.01 level.
The findings suggested that 4MAT teaching method has advantages in developing the analytical thinking skills required for nursing practice and have a positive effect on individual and group learning in nursing students, its utilization should be promoted.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว