ผลของการสอนที่เน้นการคิดอย่างเป็นระบบและจิตสำนึกสาธารณะในบริบทของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

Main Article Content

ศุกร์ใจ เจริญสุข
จรัสศรี เพ็ชรคง
พัทธวรรณ ชูเลิศ

บทคัดย่อ

                    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ One group pretest – posttest design โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการคิดอย่างเป็นระบบ และจิตสำนึกสาธารณะระหว่างก่อนและหลังได้รับการสอน ที่เน้นการคิดอย่างเป็นระบบและจิตสำนึกสาธารณะ ในบริบทของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

ประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2557  จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการสอนที่เน้นการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและจิตสำนึกสาธารณะ 2) แบบวัดการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81 และ 3) แบบวัดจิตสำนึกสาธารณะ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และใช้สถิติทดสอบ Paired  t-test  

               ผลการวิจัย  สรุปได้ดังนี้ 1) ก่อนสอนนักศึกษาประเมินระดับการคิดอย่างเป็นระบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X= 3.39) และหลังได้รับการสอน ประเมินระดับการคิดอย่างเป็นระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X= 4.07) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการคิดอย่างเป็นระบบ พบว่าหลังการสอน นักศึกษา มีคะแนนการคิดอย่างเป็นระบบสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001 (t = 14.85)  2) ก่อนสอน นักศึกษาประเมินระดับ จิตสำนึกสาธารณะ อยู่ในระดับมาก (X= 3.74) หลังการสอน พบว่า นักศึกษาพยาบาลประเมินระดับจิตสำนึกสาธารณะในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X= 4.49) เช่นกัน แต่มีค่าคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมสูงกว่าก่อนการสอน และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนระดับจิตสำนึกสาธารณะ พบว่าหลังการสอน นักศึกษามีคะแนนระดับจิตสำนึกสาธารณะสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = 15.03)

              สรุปได้ว่าวิธีการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมการมีจิตสำนึกสาธารณะของผู้เรียน สามารถพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และจิตสำนึกสาธารณะของผู้เรียนได้ดี

 

              This quasi experimental study employed a one group pretest - posttest design to compare the average systemic thinking and public consciousness before and after using a teaching approach emphasizing systemic thinking and public consciousness in Boromarajonani College of Nursing Chakriraj. 

              The 87 first year nursing students of the academic year 2014 were recruited to participate in the study.  The research instruments comprised: 1) lesson plans focusing on the development of systemic thinking and public consciousness; 2) A systemic thinking questionnaire with Cronbach Alpha of 0.81; and 3) a public consciousness questionnaire with Cronbach Alpha of 0.96.  Data were analyzed using Paired t-test. 

              The results revealed that, before teaching, nursing students reported overall systemic thinking at a moderate level (X= 3.39) and after being taught at a high level (X= 4.07). The comparison of systemic thinking scores before and after using the teaching approach showed that the mean score after being taught was significantly higher than before at .001 level (t = 14.85). Before teaching, nursing students reported the level of public consciousness at a high level (X= 3.74) with a slight increase after being taught (X= 4.49). Comparing public consciousness scores before and after using the teaching approach showed that the mean score after being taught had significantly increased at .001 level (t =15.03).

               It can be concluded that the teaching approach emphasizing systemic thinking and public consciousness in Boromarajonani College of Nursing Chakriraj was successful to develop a systemic thinking process and public consciousness of learners.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ