การศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

Main Article Content

สุรัตนา ทศนุต
เบญจมาศ ศิริกมลเสถียร

บทคัดย่อ

ปัจจุบันระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นปัญหาสำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย การวิจัยเชิงพรรณนาแบบคุณภาพ (Qualitative Descriptive Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model: CCM) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 17 คน ผู้ดูแลผู้ป่วยจำนวน 17 คน แกนนำชุมชนจำนวน 8 คน และบุคลากรทีมสุขภาพจำนวน 3 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา(Content analysis)

ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบด้านทรัพยากรและนโยบายของชุมชนมีการกำหนดเป้าหมายการดูแลและการติดตามประเมินผลยังไม่ชัดเจน องค์ประกอบด้านการสนับสนุนการดูแลตนเองในด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การปฏิบัติตัวยังไม่เหมาะสม และยังมีความต้องการการช่วยเหลือสนับสนุนสถานที่และอุปกรณ์การออกกำลังกาย องค์ประกอบด้านระบบข้อมูลทางคลินิกยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาวางแผนจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ผลการวิจัยสะท้อนสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการพัฒนาระบบและกระบวนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

 

Care of diabetes type 2 patients is currently a critical problem of the health system in Thailand.  This study aimed to use qualitative descriptive study to explore a caring system for diabetes type 2 patients according to the Chronic Care Model. The samples, purposively selected consisted of 17 diabetes type 2 patients, 17 care givers, 8 community leaders, and 3 health care providers.  Data were collected by using in-depth interview and analyzed by using content analysis.   It was found that regarding the resource and policy element, the community had neither set a clear target for diabetes care, nor clear monitoring and evaluation activities. The patients were not properly supported to practice self-care management regarding diet and exercise. More support for facilities and exercise equipment is needed.  Health information system needs to be improved.  Relevant data from different levels of health care for continuity of care could not be linked.  Existing data and information are not comprehensive enough to provide sufficient information.  

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ