ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคม ในการเผชิญความเครียด กับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของพยาบาล ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Main Article Content

บูรฉัตร กริษฐาทิพย์
กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในการเผชิญความเครียด กับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 จำนวน 278 คนที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi stage sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นตามกรอบและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการรับรู้ความสามารถของตนเอง                             แรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการการเผชิญความเครียดของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ที่ระดับนัยสำคัญที่ .05

            ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเผชิญความเครียดของพยาบาลที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 67.30 ( = 2.67, SD = .48) แรงสนับสนุนทางสังคมในการเผชิญความเครียดของพยาบาลโดยรวม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 68.00  ( = 2.68, SD = .47) พฤติกรรมการเผชิญความเครียดของพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 54.70 ( = 3.63, SD = .32) และพบว่าการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเผชิญความเครียด และแรงสนับสนุนทางสังคมในการเผชิญความเครียดโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับพฤติกรรม   การเผชิญความเครียดของพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .484, p = .000 และ r = .439, p = .000 ตามลำดับ)

 

Purpose of this descriptive research was to study the relationship between self-efficacy and social support on coping with stress and coping with stress behaviors of nurses working in Pramongkutklao Hospital.

Samples were 278 nurses working in Pramongkutklao Hospital with more than 6 months of work experience before May 2013. Research instrument was a questionnaire developed by the researchers about self-efficacy, social support on coping with stress and coping with stress behaviors.

Results showed that self-efficacy on coping with stress of the nurses working in Pramongkutklao Hospital was on       a high level, 63.70% (= 2.67, SD = .48). Social support on coping with stress was on a high level, 68% (= 2.68, SD = .47). Coping with stress behaviors was on a middle level (= 3.63, SD = .32). There was a low level of relationship between self-efficacy and social support on coping with stress and coping with stress behaviors at a .05 significant level, 54.70% (r = .484,     p = .000  r = .439, p = .000). 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ