การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะทางวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาพยาบาล Development of a Cultural Competence Assessment Instrument for Nursing Students

Main Article Content

สุภลักษณ์ ธานีรัตน์
มารุต พัฒผล
วิชัย วงษ์ใหญ่
นิชดา สารถวัลย์แพศย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะทางวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ ประกอบด้วย อาจารย์พยาบาล 10 คน พยาบาลวิชาชีพ 12 คน ผู้ใช้บริการ 12 คน นักศึกษาพยาบาล 8 คน และกลุ่มตัวอย่างในการตรวจสอบคุณภาพแบบประเมิน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ 10 คน และนักศึกษาพยาบาล 30 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า แบบประเมินสมรรถนะทางวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาพยาบาล มี 5 ด้าน จำนวน 34 ข้อ คือ 1) เข้าใจความต่างทางวัฒนธรรม จำนวน 5 ข้อ 2) เคารพความเป็นบุคคล จำนวน 7 ข้อ 3) ให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม จำนวน 11 ข้อ 4) มีความไวต่อการแสดงออกทางวัฒนธรรม จำนวน 5 ข้อ และ 5) มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร จำนวน 6 ข้อ มีเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค 5 ระดับ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหารายข้อระหว่าง .71-1.00 และทั้งฉบับ เท่ากับ .84 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 แบบประเมินที่พัฒนาขึ้นนี้สถาบันการศึกษาทางการพยาบาล สามารถนำไปใช้ในการประเมินสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลต่อไป

The research objective was to develop an instrument to assess nursing students’ cultural competence. There were 2 groups of samples. The first group included 10 nursing instructors, 12 registered nurses, 12 patients and 8 nursing students. The second group consisted of 10 experts and 30 nursing students. The instruments were interview form, aspects of group discussions and assessment form. The analyses performed through the content analysis, means and Pearson correlation coefficients.

The results showed that there were 5 aspects in the 34-item nursing students’ cultural competence assessment form listed as follows: 5 items for the understanding of cultural differences, 7 items for recognizing human beings as persons, 11 items for delivering nursing cares with respect to patients’ cultures, 5 items for being responsive to cultural appearance, and 6 items for communication capability. Five-level Rubric scoring was used as criteria in this assessment form. The item-level content validity index laid between .71 and 1.00 and that of the scale-level was .84. The instrument reliability coefficient was .82. Nursing education organizations may further apply this cultural assessment tool to assess the cultural competence of their students.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ