สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลืออย่างเอื้ออาทรของอาจารย์นิเทศตามการรับรู้ของ นักศึกษาพยาบาล และพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล ตามการรับรู้ของผู้รับบริการขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาล Caring relationship of instructors perceived by nursing students and ca

Main Article Content

นรากูล พัดทอง

บทคัดย่อ


การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research Design) ครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาสัมพันธภาพเชิงช่วยเหลืออย่างเอื้ออาทรของอาจารย์นิเทศตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล และพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลตามการรับรู้ของผู้รับบริการขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาล โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) 2 กลุ่ม คือ นักศึกษาพยาบาล จำนวน 81 คน และผู้รับบริการที่นักศึกษาพยาบาลได้ให้การดูแลในขณะขึ้นฝึกปฏิบัติฯ จำนวน 81 คน ตามคุณสมบัติที่ผู้วิจัยกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามสัมพันธภาพเชิงช่วยเหลืออย่างเอื้ออาทรของอาจารย์นิเทศตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลตามการรับรู้ของผู้รับบริการ ซึ่งสร้างจากกรอบแนวคิดทฤษฎีการดูแลอย่างเอื้ออาทร 10 ด้าน ของ Watson ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 และ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลวิจัย พบว่า
1. สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลืออย่างเอื้ออาทรของอาจารย์นิเทศตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล โดยรวม อยู่ในระดับดี (X = 4.27, SD = 0.73)
2. พฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลตามการรับรู้ของผู้รับบริการขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาล โดยรวม อยู่ในระดับดี (X = 4.28, SD = 0.78)
3. สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลืออย่างเอื้ออาทรของอาจารย์นิเทศตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางบวก กับ พฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลตามการรับรู้ของผู้รับบริการขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

This study was a correlational research design. The research was aimed to study caring relationship of instructors as perceived by nursing students and caring behavior of nursing students during a practicum and the correlation between two variables. The samples were purposively selected included 81 nursing students and 81 clients. Research instruments were questionnaires. The internal consistency reliability of the questionnaires were .91 and .97. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The results revealed that:
1. Caring relationship of instructors as perceived by nursing students had mean scores at a good level
(X= 4.27, SD = 0.73).
2. Caring behavior of nursing students during a practicum as perceived by clients had a good level (X= 4.28, SD = 0.78).
3. Caring relationship of instructors as perceived by nursing students positively related to Caring Behavior of Nursing Students during a practicum as perceived by clients at 0.01 level.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ