การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะการแก้ปัญหา ในนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

Main Article Content

ศิริพร ครุฑกาศ
อัจฉรา ไชยูปถัมภ
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา

บทคัดย่อ

ทักษะการแก้ปัญหาเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จึงควรตรวจสอบทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาล วิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะการแก้ปัญหาทางพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ถึง 4 ชั้นปีละ 200 คน จากวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 29 แห่ง จาก 5 เครือข่ายภาค สุ่มภาคละ 2 วิทยาลัยแบบ 2 ขั้นตอน และสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามทักษะการแก้ปัญหามี 5 องค์ประกอบ 26 ตัวชี้วัด วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม LISREL 8.8 (Student) ผลการวิจัยสรุปดังนี้ โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ = 6.23 df = 3 มีค่าความน่าจะเป็น 0.376 แสดงว่าค่าไค-สแควร์ แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญ โดยดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืน (Goodness of fit index: GFI) เท่ากับ 1.0 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (Adjusted goodness of fit index: AGFI) เท่ากับ 0.98 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานของตัวแปรสังเกตได้ในโมเดลการวัดทักษะการแก้ปัญหา ทั้งหมดมีค่าเป็นบวก ขนาด 0.32 ถึง 0.41 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด
ตามลำดับ คือ ประเมินผลการแก้ปัญหา ปฏิบัติการแก้ปัญหา วางแผนแก้ปัญหา ประเมินปัญหา และรวบรวมข้อมูล เครื่องมือนี้สามารถนำไปใช้ประเมินทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาในแต่ละวิทยาลัยพยาบาล เพื่อได้ข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนานักศึกษาพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biography

ศิริพร ครุฑกาศ, Boromarajonani College of Nursing, Changwat Nonthaburi

Deputy Director in Research and International Affairs