การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในพื้นที่ชายแดนไทย–สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี Influenza surveillance of sub-district health promoting hospital in the areas of Thai-Lao border: A case of Ubon

Main Article Content

มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล
ชมพูนุท โมราชาติ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรค เงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำเร็จของรูปแบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ของ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ชายแดนไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) จังหวัดอุบลราชธานี
ใช้กระบวนการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นจากบุคลากรสาธารณสุข กลุ่มผู้นำ
ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข และกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพ ประเทศ
สปป.ลาว ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความพร้อมรับการระบาดของโรคไข้
หวัดใหญ่ในทุกด้าน ทั้งด้านนโยบายและการบริหารจัดการ ด้านเฝ้าระวังป้องกันโรค ด้านเวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ และด้านการควบคุมการ
ระบาดฉุกเฉิน ปัญหาอุปสรรคที่พบ คือคนไข้ไม่มาพบแพทย์ในระยะแรก ไม่เห็นความสำคัญ ควบคุมยากโดยเฉพาะผู้ป่วยจาก สปป. ลาว
ส่วนพฤติกรรมการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของบุคลากรนั้น โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
กลุ่มผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่
ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าโรค
ไข้หวัดใหญ่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบหรือชุมชน ทำให้เสียเวลาประกอบอาชีพ ส่วนกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการ
สุขภาพ ประเทศ สปป.ลาว พบว่า เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ ขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการติดต่อของโรคทาง
ระบบหายใจ ในด้านสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรค และวัคซีน มีจำนวนจำกัดไม่พอใช้ จากผลการศึกษา
ควรนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ชายแดนให้มีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลต่อไป


Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ