ทสะท้อนจากการทำวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาแนวอรรถปริวรรตเพื่อศึกษาประสบการณ์ ของญาติผู้ดูแลผู้ที่อยู่กับโรคจิตเวชในประเทศไทย Reflection on conducting hermeneutic phenomenological research into the experience of family caregivers of people with mental illne
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ปรากฏการณ์วิทยาแนวอรรถปริวรรต (Hermeneutic phenomenology) เป็นวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในศาสตร์
ทางการพยาบาล และทางสุขภาพสาขาอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การนำรูปแบบการวิจัยนี้ไปใช้กับกลุ่มประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มโลกตะวันตก เช่น ใน
ประเทศไทยนั้น พบว่ายังไม่เป็นที่นิยมเท่าใดนัก และมีความท้าทายหลายอย่าง บทความนี้จึงเสนอความท้าทายที่พบจากการทำวิจัยแบบ
ปรากฏการณ์วิทยาแนวอรรถปริวรรตในประเทศไทย ของนักศึกษาไทยที่ไปศึกษาปริญญาเอกในประเทศตะวันตก โดยได้อธิบายกระบวนการ
การเลือกระเบียบวิธีวิจัยและการทำวิจัย เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ที่อยู่กับโรคจิตเวชในชนบทของประเทศไทย บทเรียนจาก
การทำวิจัยและข้อเสนอแนะสำหรับนักวิจัยในอนาคต และยังได้นำเสนอประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความลำบากในการดูแลผู้ที่อยู่กับโรคจิตเวชของ
ญาติไว้อย่างย่อ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้เข้าใจการสะท้อนถึงวัฒนธรรม และความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่มีต้นกำเนิดมา
จากโลกตะวันตก เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ชีวิตของคนจากต่างวัฒนธรรม
Abstract
Hermeneutic phenomenology is a well-established research methodology in nursing and other qualitative
health research. However, the use of this approach in non-Western study populations has not been widely undertaken in Thailand and presents some significant challenges. This paper provides a discussion of the challenges encountered by a doctoral student undertaking a PhD program in a Western country while conducting the research project in Thailand. The process of choosing a methodology and then using this methodology to research the lived experience of people caring for relatives with a mental illness in rural Thailand is described. The lessons learned from this research undertaking and recommendations for future researchers are also outlined. The study details and findings highlight the plight of family caregivers in rural-urban Thailand and are briefly mentioned as the background to the reflect on the cultural relevance and appropriateness of applying an essentially Western methodological perspective to understand the lived experience of people from another culture.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว