ผลของการเรียนการสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยชั้นเรียนทีใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลเฉพาะหลังการทดลอง (One-Group-Posttest Design) เพื่อศึกษาผลของการเรียนการสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ในการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์''ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ภาษาอังกฤษ 3 ในปีการศึกษา 2548 ภาคการศึกษาที่ 1 จำนวน 53 คน การดำเนินการวิจัยเริ่มจากศึกษาหลักสูตร ออกแบบ การเรียนการสอน เขียนแผนการสอน และสอนตามแผนที่กำหนดไว้ ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเก็บโดยการประเมินผลชิ้น งานและการสอบปลายภาคข้อมูลความพึงพอใจเก็บโดยให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ 3 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลจากคำถามปลายเปิดใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยในส่วนของผลสมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า ค่าเฉลี่ยของร้อยละของคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ 3 โดยรวม ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เท่ากับ 69.13 และนักศึกษาส่วนใหญ่มีคะแนนอยู่ในระดับดีและปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 50.9 และ 45.3 ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจในการเรียนพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาโดยรวมและ รายด้านได้แก่ ด้านเนื้อหาการเรียนรู้ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านการประเมินผล อยู่ในระดับมาก = 4.00. SD = 0.44; = 4.20, SD = 0.49; = 3.93. SD = 0.47 และ = 4.03, SD = 0.51 ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยคะแนนความ พึง พอใจโนการเรียนของนักศึกษารายข้อ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก สำหรับกิจกรรมที่นักศึกษาส่วนใหญ่ชอบได้แก่ การใช้บทบาท สมมติ การดูภาพยนตร์ และการใช้เกมส์ กิจกรรมที่นักศึกษาบางคนไม่ชอบ คือ การสรุปงานวิจัย บทบาทสมมติ และการฟัง และจับใจความสำคัญ สิ่งทีนักศึกษาต้องการให้มีการปรับปรุงได้แก่ เนื้อหาในบางส่วนยากเกินไป เช่น การสรุปงานวิจัย และต้องการให้มีกิจกรรมทีกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การศึกษา ดูงานนอกสถานที่และให้มีอาจารย์ต่างประเทศร่วมสอนในบางครั้ง
จากผลการวิจัยข้างต้นจะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วมส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ดังนั้นจึงควรนำวิธีการเรียนแบบนี้มาพัฒนาใช้ทั้งในวิชาภาษาอังกฤษและวิชาอื่น ๆ ต่อไป
Abstract
A classroom research was conducted using one-group-posttest design to examine effects of participatorylearning on learning achievement and students' satisfaction among nursing students of Boromarajonanicollege of Nursing, chang wat Nonthaburi. The sample was composed of 53 third year nursing students whoenrolled in English 3 in semester 1, academic year 2005.
A course design and lesson plans were conducted accordingly to the curriculum and participatoryapproach' Learning achievement was assessed through various assignments and final examination.self-administered questionnaire was used to assess students' satisfaction. percentage, mean, and standard deviation were used to analyze quantitative data. Qualitative data were analyzed by a content analysis.
The results were summarized as follows : For learning achievement, the mean of the percentage of theoverall scores for English 3 was 69.13. A majority of students' scores was in high and moderate levels (50.9%and 45.3o/o of the students, respectively). For satisfaction on learning organization, mean scores of satisfactionwere high for the overall and all individual categories, namely contents, learning activities, and evaluation ( =4.00, S.D. =O.44, =4.20,S.D. = 0.a9; = 3.93, S.D. = 0.47 and = 4.03, S.D. = 0.51, respectively). Furthermore,mean scores of most items were high. A majority of students revealed that their most favorite learning activitieswere role play, watching movies and games. Some students expressed that they did not like summarizingresearch articles and listening for comprehension. The students advised that some of the contents such assummarizing research articles were too difficult for their level and should be modified. They wanted to have afield trip study to expose to the real situations where they could use English. They also wanted to learn witha native speaker sometimes.
From the research findings, it can be seen that the participatory learning approach could enhancestudents' learning achievement and satisfaction. Therefore, this method of learning should be fudher improvedand applied in English and other subjects.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว