ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อการลดความเครียดของผู้ปกครองเด็กออทิสติก

Main Article Content

จารุวรรณ ก้านศรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดความเครียดของผู้ปกครองเด็กออทิสติก ประซากรสำหรับการทดลองนี้คือผู้ปกครองที่มีบุตรซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเปีนโรคออทิสติก โดยไม่จำกัด เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ลักษณะครอบครัว และฐานะทางเศรษฐกิจ จำนวน 142 ราย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ปกครองเด็ก ออทิสติก ที่เด็กมารับบริการที่สถาบันพัฒนาการเด็กรพีพรรณ กรุงเทพฯ ระหว่างเดือนสิงหาคม - เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 10 คน โดยกลุ่ม ทดลองได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม สัปดาห์ละครั้ง ๆ ละ 45-60 นาที ติดต่อกัน 5 สัปดาห์ ควบคู่กับการได้รับบริการ ตามปกติของสถาบันฯ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบจะได้รับเฉพาะการบริการตามปกติของสถาบันฯ เท่านั้น เครื่องมือที่ใซในการ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามประเมินความเครียดของผู้ปกครองเด็กออทิสติก การ วิเคราะห์ข้อมูลใช้โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างของ คะแนนด้วยสถิติ t-test

ผลการศึกษาพบว่า

1. หลังการทดลองผู้ปกครองเด็กออทีสติกที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มมีความเครียดน้อยกว่าก่อนเข้ารับการ ให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. หลังการทดลองผู้ปกครองเด็กออทีสติกที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มมีความเครียดน้อยกว่าผู้ปกครองเด็ก ออทิสติกทีไม่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ก่อนและหลังการทดลองผู้ปกครองเด็กออทีสติกทีไม่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มมีความเครียดไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

The purpose of this study is to evaluate the effect of group counseling on stress reduction in parentswith autistic children. Twenty parents with autistic children who attended from Rapeepun Child DevelopmentInstitute, during August to October 2006 were purposively selected. The sample was divided equally into twogroups. The first 10 parents with Autistic Children were assigned as an experimental group who receivedGroup counseling once a week, 45-60 minutes per session over five periods and routine care service. Theother 10 parents with Autistic Children were assigned as a control group who received only routine careservice. The studying instrument was Stress Scale. Data were analyzed by using means, standard deviationand t-test.

The results of the study indicated that the experimental group after received Group Counseling had asignificantly lower scores on stress than before the experiment (P< .05). The experimental group had asignificantly lower scores on stress (P< .05) than those of the control group. No significant differences existedin the stress scores of the parents not receiving group counseling before and after the experiment (P< .05).

 

 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ