ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ของผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2548 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรดิตถ์

Main Article Content

นัยนา อินธิโชติ
ไพทูรย์ มาผิว
วาสนา ครุฑเมือง
ศศิธร ชิดนายี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (4 ปี) และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) ปีการศึกษา 2548 จำนวน 143 คน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ เครืองมือที่ใช้การวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง และแนวคำถามในการสนทนากลุ่มที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม แบบสอบถามและแนวคำถามในการสนทนากลุ่มไต่รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธสหสัมพันธ์ ของสเปียร์แมน และการวิเคราะห์การถดถอย โลจิสสติก และการจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างเป็นระบบในกรณีข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัย พบว่า

1. ความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนเฉลี่ย ในวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ของกลุ่มตัวอย่างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ในวิชาผดุงครรภ์ และวิชาการพยาบาล มารดาทารก อย่างมืนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01) ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาการพยาบาลเด็ก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการ สอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ในวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นอย่างมืนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการสอบวัดความร้เพื่อขอขึ้นทะเบียน ฯ ในวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .001) ผลการเรียนเฉลี่ยวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน และวิชาเวชปฏิบัติ มีความสัมพันธ์ทางบวก กับผลการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ในวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชมเวชปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) และวิชากฎหมายกับวิชาชีพการพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียน ฯ ในวิชากฎหมายกับวิชาชีพการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p  < 001)

2. ความสัมพันธ์ระหว่าง เกรดเฉลี่ยสะสมก่อนเข้าศึกษา และ เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร มืความสัมพันธ์ ทางบวกกับผลการสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียน ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .001) ทำนาย ได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่มี เกรด เฉลียสะสมก่อนเข้าศึกษา และเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมีโอกาสสอบผ่านกๅรสอบวัดความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียน ฯ ทุกวิชาเพื่มขึ้น 3.63 และ 20.13 เท่า (ตามลำดับ)

3. ปัจจัยท็่มีอิทธิพลต่อผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ของผู้สำเร็จ ปีการศึกษา 2548 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรติตถ์ คือ เกรดเฉลี่ยสะสมก่อนเข้าศึกษา และ เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร

 

Abstract

This study was conducted to investigate factorsinfluencing the result of the Thai Nursing Council'sExamination for registering the First Class of Nursingand Midwifery Profession 2006 of Graduated NursingStudents from Boromarajonani College of Nursing,Uttaradit. The subjects were 60 graduated nurses ofthe Bachelor of Nursing Science (B.N.S) program and83 graduated nurses of the Diploma in Nursing Science(Dip.N.S) program. Data were collected by questionnairesand reviewing secondary data. The questionnairesand question guide for focus group discussionwere reviewed by the panel of experts. The statisticsused in this study included descriptive statistics,Spearman's rho correlation Coefficient, and Logisticregression and qualitative data were analyzedby group categorization.

The results were as follows:

1. The passing rates of the examination werecorrelated with the grade point average of theObstetric Nursing (p < .01), Pediatric Nursing andCommunity Health and Primary Medical Care(p < .05), and Adult and Elderly Nursing and Laws andNursing Profession. (p < .001)

2. There were statistically significant corrlation between the passing rate of the examinationand high school grade point average and grade pointaverage for the total of graduated nurses. (p < .001)

3. Also, this study showed that the highschool grade point average and grade point averagefor the total of graduated nurses were the predictorto increase the passing rate of the nursing studentsexamination.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ