พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ของผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

พัชรจิตร สุคนธพันธุ์
ภัทรียา มาลาทอง
กุลลดา เปรมจิตร์
โสมสิริ รอดพิพัฒน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริม สุขภาพเด็กอายุตากว่า 6 ปี ของผู้ดูแลเด็ก และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ประสบการณ์การอบรม และประสบการณ์ในการดูแลเด็ก กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ดูแลเด็กเล็กทั้งหมด ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใน เขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ที่ปฏิบัติงานในเดือนเมษายน 2549 จำนวน 105 ราย ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ แบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลเด็ก ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ประสบการณ์การอบรม และประสบการณ์ในการดูแลเด็ก ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเด็ก เป็น แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (1996) ประกอบด้วยพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา 6 ด้าน รวมทั้งสิน 40 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า

1 พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเด็กอายุตากว่า 6 ปี ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดนนทบุรี อยู่ในระดับดี ทั้งรายด้านและโดยภาพรวม

2. อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และประสบการณ์ในการอบรมหลักสูตรการส่งเสรีมสุขภาพเด็ก ไม่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสรีมสุขภาพเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดนนทบุรีอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) ส่วนรายได้ และประสบการณ์ในการดูแลเด็ก มีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับตากับ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเดกอายุต่ำกว่า 6 ปี ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดนนทบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 05)

 

Abstract

The purposes of this descriptive study were to explore health promotion behaviors of caregivers forpreschool children in child-care centers of Nonthaburi province, and to identify the relationships among thehealth promotion behaviors and personal factors including age, education, income, marital status, trainingexperience, and child-caring experience.

A purposive sampling method was used to recruit 105 caregivers. Data were collected by using aquestionnaire developed by researchers, based on Pender's theory of Health Promotion (1996). lt consisted of47 items with two parts, personal factors (seven items) and health promotion behaviors of caregivers (40items). Data were analyzed by using percentages, means, and standard deviations. The relationships amongthe health promotion behaviors and personal factors were analyzed by using Pearson's product momentcorrelation coefficient.

 

 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ