พฤติกรรมการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษาของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษา ของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์พยาบาล จำนวน 32 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติงานของอาจารย์ก่อนและหลังการนำระบบประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ซึ่งเป็นแบบสอบถามของ สุระพรรณ พนมฤทธิ์ และสิรีย์ลักษณ์ ไชยลังกา (2546) ที่ได้สร้างขึ้นเพื่อใช้ศึกษาการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษาของอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา และเครื่องมือนำ ไปหาความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้แท่ากับ .93 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ก่อน นำระบบการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ อาจารย์พยาบาลมีระดับพฤติกรรมการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษา ตามการประเมินตนเองโดยรวมและทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับปานกลางและภายหลังการนำระบบการประกันคุณภาพการ ศึกษามาใช้ อาจารย์พยาบาลมีระดับพฤติกรรมการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามการประเมินตนเองโดยรวม และทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับสูง และค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามการประเมิน ตนเองก่อนและภายหลังการนำระบบการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: อาจารย์พยาบาล; การประกันคุณภาพการศึกษา; พฤติกรรมการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษา
Abstract
The purpose of this research was to study the educational quality assurance working behaviors ofnurse instructors in Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit. A sample was 32 nurse instructors. Theresearch instrument was the questionnaire created by Surapan Panomrit and Sireluk Chailungga using withChanges on Working Behaviors of Faculty Members in Boromrajonani College of Nursing, Payao, research in8.E.2546. The reliability of the questionnaire test by chronbach Alpha coefficient was at .93. The data wereanalyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and paired t-test. The result were asfollows: before using educational quality assurance system, nurse instructors'working behaviors were in overalland subscale dimensions in at middle level. After using educational quality assurance system' nurseinstructors,working behaviors were in overall and subscale dimensions in at high level. The average workingBehaviors of nurse instructors between before and after using educational quality assurance system weresignificantly ditferent at a level of .05.
Key Words : Nurse instructors ; Educational qualityassurance ; Educational quality assurance working behaviors
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว