ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

Main Article Content

พงษ์พินิต ไชยวุฒิ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา      โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ที่มาตรวจรักษาตามแพทย์ นัดที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกโรคหัวใจ ของโรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันโรคทรวงอก จำนวน 197 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์จำนวน 6 ชุด ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ปัจจัยส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย แบบสัมภาษณ์การรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกาย แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกาย แบบ สัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคมของการออกกำลังกาย และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน

ผลการศึกษาพบว่า

1. ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย อยู่ในระดับดี (\bar{X} = 3.25. S.D. = 0.51)

2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ได้แก่ ระดับการศึกษา (r = .308, P < .001) การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย (r = .637, P < .001) การรับรู้ความสามารถของ ตนเองในการออกกำลังกาย (r= .740, P < .001) และการสนับสนุนทางสังคมของการออกกำลังกาย (r = .490, P < .05)

 

Abstract

The purpose of this descriptive study was to investigate factors related to exercise behaviors ofmyocardial infarction patients. A sample was composed of 197 myocardial infarction patients at RatchaviteeHospital and Chest Disease Institute. The instruments consisted of demographic, perceived benefits ofexercise, perceived barriers to exercise, perceived self-efficacy for exercise, social support for exercise, andexercise behavior questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson's product -moment correlation

The results were as follows:

1. A mean score of exercise behaviors was 3.25 (S.D.= 0.51), which was classified as good level.

2. Significant factors related to exercise behaviors of myocardial infarction patients included educationlevel (r= .308, p < .001), perceived benefits of exercise (r= .637, p < .001), perceived self - efficacy for exercise(r= .74O, p < .001), and social support for exercise (r=.490, p < .05).

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ