ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพประจำแหล่งฝึกภาคปฏิบัติ ต่อสมรรถนะของนิสิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ

Main Article Content

สุกิจ ทองพิลา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพประจำแหล่งฝึกภาคปฏิบัติต่อสมรรถนะของนิสิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ จำนวน 8 แห่ง ในด้านความสามารถทางวิชาการ/การปฏิบัติงาน ด้านความสามารถพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ และปัญหาอุปสรรคกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพประจำแหล่งฝึกภาคปฏิบัติ จำนวน 243 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบที่ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับตั้งแต่มากที่สุด จนถึงน้อยที่สุดวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เก็บข้อมูลระหว่างกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน 2552

ผลการวิจัย พบว่า มีอัตราตอบกลับร้อยละ 91 พยาบาลวิชาชีพประจำแหล่งฝึกภาคปฏิบัติมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะของนิสิตพยาบาลในภาพรวมคะแนนเฉลี่ย 3.34 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70 โดยด้านความสามารถทางวิชาการ/การปฏิบัติงาน คะแนนเฉลี่ย 3.23 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.71 และด้านสามารถพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ คะแนนเฉลี่ย 3.44 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.68 โดยพยาบาลวิชาชีพประจำศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 50 (บางกะปิ) มีความพึงพอใจสูงที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.80 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.46 และโรงพยาบาลปทุมธานีมีความพึงพอใจน้อยที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.02 คะแนนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.56 ด้านปัญหาอุปสรรค พบว่า การขาดการเตรียมพร้อมของนิสิตในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติเป็นปัญหามากที่สุด

ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัย จากผลการวิจัย พบว่า วิทยาลัยฯ ต้องพัฒนาการจัดการศึกษาด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และการนำผลการวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติงานและพัฒนางาน เพื่อให้นิสิตเป็นที่ยอมรับของแหล่งฝึกต่อไป

 

Abstract

The aims of this descriptive study were to explore the satisfaction of registered nurses towardsclinical competencies of student nurses at the Boromarajonani College of Nursing, Nopparat Vajira .These competencies consisted of two components nursing knowledge and practice, and (b) moral andethical issues in professional nursing. Samples included 243 registered nurses who work at the hospitalswhere student nurses experienced their nursing practicum. A five point rating scale ranging from 1 to 5was used for data collection from February to April 2008. Percentage, means, and standard deviationwere conducted for data analysis.

The results showed that 91% of registerednurses indicated over all satisfaction \bar{X} = 3.34; outof 5 S.D. = 0.07. The mean of satisfaction towardstudents nurse’ knowledge and practices was 3.23;out of 5 S.D. = 0.68. The competency satisfactionmean score of basic nursing skill and moral andethical issues was 3.44 out of 5 S.D. = 0.68. Theregister nurses at Health center 50 (Bangapi)indicated the highest mean score of satisfaction \bar{X} = 3.80; out of 5 S.D. = 0.46 whereas registerednurse at Patumtani hospital showed the lowestmean score of satisfaction \bar{X} = 3.02; out of 5 S.D.= 0.56. The lack of nursing knowledge wasidentified by registered nurses as the main barriersfor student nurses’ nursing practice.

Research suggestion showed that Englishcompetency skills of student nurses were highlyrequired to advance their profession nursingpractice and to evidence the standard of nursingcollege and curriculum.

 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ