Nurses’ Perceptions and Practices Regarding Recovery from Schizophrenia: A Descriptive Qualitative Study

Main Article Content

Chettha Kaewprom
Janette Curtis
Frank Deane

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

เป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่าแนวคิดการดูแลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตควรมีการปรับเปลี่ยนจากการควบคุมอาการของโรค (Illness orientation) ไปสู่การส่งเสริมกระบวนการฟื้นตัว (Recovery process) เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมภาวะการเจ็บป่วยได้อย่างมีความสุข อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องกระบวนการฟื้นตัว (Recovery Model)ยังเป็นเรื่องใหม่ต่อวงการพยาบาลไทย ดังนั้นจึงควรมีการสำรวจความรู้ ทัศนคติ และกิจกรรมการพยาบาล ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการฟื้นตัวในผู้ป่วยจิตเวช การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และกิจกรรมการพยาบาลของพยาบาลเกี่ยวกับกระบวนการฟื้นตัวในผู้ป่วยจิตเภท การวิจัยได้ทำการสัมภาษณ์พยาบาลจิตเวชจำนวน 24 คน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลฝ่ายกาย และในชุมชม ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ประเด็นเนื้อหาร่วม (Thematic analysis) โดยประเด็นที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น ความหมายของกระบวนการฟื้นตัวในผู้ป่วยจิตเภท ลักษณะแสดงถึงกระบวนการฟื้นตัว และกิจกรรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมกระบวนการฟื้นตัวในผู้ป่วยจิตเภท ผลการวิจัยสรุปว่า แนวคิดชีววิทยาทางการแพทย์(Biomedical model) มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของพยาบาล และต่อกระบวนการฟื้นตัวในผู้ป่วยจิตเภท รวมถึง กิจกรรมการพยาบาลต่อผู้ป่วยจิตเภท ดังนั้นพยาบาลควรมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการดูแลผู้ป่วยให้สอดคล้องกับแนวคิดการส่งเสริมกระบวนการฟื้นตัวแบบบูรณาการ (Recovery orientation) เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเกิดกระบวนการฟื้นตัวที่ดี อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาในตัวเอง ตลอดจนมีความพึงพอใจต่อการดำรงชีวิตและการเจ็บป่วย

คำสำคัญ : กระบวนการฟื้นตัว; การพยาบาลจิตเวช; ผู้ป่วยจิตเภท; การฟื้นฟูทางจิตสังคม; การวิจัยเชิงคุณภาพ

 

Abstract

Internationally, psychological recovery has become increasingly recognised as a key conceptdriving mainstream of mental health services for individuals with schizophrenia. This involves a shift froma purely medical model of recovery that focuses on symptom remission to a consideration of ‘living well’with the illness. Nurses play an important role in promoting a client’s recovery from schizophrenia.However, the recovery concept is relatively new in Thailand and nurses may have to develop theirknowledge, attitudes, and skills to better provide recovery-oriented care. This is a preliminary study usinga descriptive qualitative study to explore nurse’s perceptions on the concept of recovery fromschizophrenia and nursing practices to promote recovery. Semi-structured interviews were conductedwith twenty-four nurses, who delivered care to clients with schizophrenia in three settings including psychiatric wards of general hospitals, psychiatricwards of tertiary psychiatric hospital, and acommunity setting. Thematic analysis revealedthree main themes from the interview data, whichhave been named the meaning of recovery fromschizophrenia, signs of recovery fromschizophrenia, and nursing practices that promoterecovery from schizophrenia. The findings revealthat nurses’ understanding a recovery fromschizophrenia and the interventions used bynurses to promote the client’s recovery fromschizophrenia fall under a dominant of abiomedical model approach to health. The findingssuggest that nurses should change the paradigmof mental health nursing from a biomedical modelto a recovery approach, and that they shouldincorporate the principle of the recovery approachto their nursing practices in order to promoteclient’s recovery processes.

Keywords: Recovery model; Mental healthNursing; Schizophrenia; Psychosocial rehabilitation; descriptive qualitative study

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ