ผลการจัดการเรียนการสอนแบบทีมในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มี ปัญหาสุขภาพ 1 ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดอย่างมีวิจารณญาณของ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

Main Article Content

ณัทกวี ศิริรัตน์
ศศิธร ชิดนายี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนการสอนแบบทีมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจในการเรียน และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 86 ราย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 ถึงเดือนกันยายน 2552 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนแบบทีมที่สร้างโดยผู้วิจัยหาความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซ (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น .94 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 จำนวน 3 บท จาก 10 บท หาความเชื่อมั่นโดยใช้ KR-20ได้ค่าความเชื่อมั่น .79 และแบบประเมินความคิดอย่างมีวิจารณญาณของสถาบันพระบรมราชชนกได้ค่าความเชื่อมั่น .75เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย เป็นแผนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ในหัวข้อการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาต่อมไร้ท่อ การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร และการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบที (paired t - test)

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใช้การเรียนแบบทีมรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ1 หลังการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการเรียนแบบทีมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนแบบทีมรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ระดับความคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ก่อนการเรียนแบบทีมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 76 หลังการเรียนแบบทีมนักศึกษาส่วนมากมีระดับความคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 804. คะแนนความคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ภายหลังการเรียนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 สูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p < .001)

การวิจัยครั้งนี้พบว่าการใช้การเรียนแบบทีมในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ มีผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มมากขึ้น มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มมากขึ้นและใส่ใจต่อการเรียนและพึงพอใจต่อการเรียนแบบทีม การเรียนแบบทีมจะช่วยทำให้การจัดการเรียนการสอนที่มีผู้สอนมีจำนวนน้อย มีผู้เรียนจำนวนมากมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอนแบบทีม; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 

Abstract

Background : Team-based learning,interactive small group learning with expertbased content delivery, is advantageous in itsability to promote problem solving, criticalthinking and interpersonal communicationskills. The purpose of this study was toimplement a team-based learning (TBL) formatin an endocrine, gastrointestinal, and renalmodule to promote students’ active learning ,improve educational outcomes, satisfaction withteam experience and critical thinking.

Method : Three of the 10 lectures werereplaced with team based learning :prerequisite readings, readiness assurance tests,and application exercises. Student performancewas evaluated through multiple assessmentsduring the TBL sessions and on unitexaminations. Data on students’ satisfactionwith team experience were obtained fromquestionnaires, which were developed byresearcher. Reliability of the questionnaires were.94. The critical thinking of students’ questionnaireswas .75. Statistical analyses for this studyincluded descriptive statistics and pairedt - test.

Results : Following implementation ofteam learning, students performed significantlybetter on the Nursing Care of Persons withHealth Problem I subject test and scoredhigher on attitudes about working in teams.Students perceived team learning activities tobe satisfaction, effective, and enjoyable. Thestudents’ critical thinking before learning byusing Team-based learning was a moderatelevel in 76% and after learning by using Team-based learning was a moderate level in80% . The students’ critical thinking beforehad higher score significant than afterlearning by using Team-based learning(p < .001).

Conclusion : Team-based learning inthe Nursing Care of Persons with HealthProblem I subject is associated withimproved students’ performance, increasedstudents’ engagement, satisfaction and criticalthinking. Team learning is a promisingeducational strategy that may prove useful inother undergraduate nursing course with largegroups of students.

Keyword : Team-based Learning ; educationaloutcome; Undergraduate Nursing Course

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ