ประสิทธิผลของการใช้แนวทางเวชปฏิบัติ “การระงับปวดหลังผ่าตัด” ต่อการบรรเทาความปวด ในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ในสถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

มนัสนันท์ ศิริสกุลเวโรจน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมักมีอาการปวดแผลผ่าตัดซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะใน 24ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด การบรรเทาอาการปวดผู้ป่วยในระยะนี้เป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวทางเวชปฏิบัติต่อการบรรเทาปวดและ ความพึงพอใจของผู้ป่วย โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปเพื่อผ่าตัด จำนวน 35 ราย และศึกษาการปฏิบัติตามแนวทางเวชปฏิบัติ และความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลจำนวน 6 ราย พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดจำนวน 23 ราย ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 68.6 มีคะแนนความปวดสูงที่สุดอยู่ในช่วง 5-7 ขณะอยู่ห้องพักฟื้นได้รับการประเมินความปวดในห้องพักฟื้นเฉลี่ย 7.71 ครั้ง และได้รับยาบรรเทาปวดเฉลี่ย 2.57 ครั้ง จนมีคะแนนความปวด < 5 ทุกรายก่อนส่งกลับหอผู้ป่วยที่เวลา 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดพบผู้ป่วยร้อยละ 74.2 มีคะแนนความปวดที่ 3-4 ได้รับการประเมินความปวดที่หอผู้ป่วยใน24 ชั่วโมงเฉลี่ย 10.91 ครั้ง ได้รับยาบรรเทาปวดเฉลี่ย 1.29 ครั้ง ความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุดในระยะก่อนผ่าตัดร้อยละ 60.0 ระยะพักฟื้นร้อยละ 88.6 ส่วนในระยะหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วยร้อยละ 74.3

แนวทางเวชปฏิบัติฯที่วิสัญญีพยาบาลส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติได้ทุกครั้งและทุกคนมี 5 ข้อใน 8 ข้อ ภาพรวมความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลต่อการใช้แนวทางเวชปฏิบัติอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดในทุกข้อคำถาม พยาบาลวิชาชีพที่หอผู้ป่วยส่วนใหญ่ปฏิบัติได้เกือบทุกข้อ ภาพรวมความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางเวชปฏิบัติ ในระดับปานกลางถึงมากที่สุดในทุกข้อคำถาม สรุป แนวทางเวชปฏิบัติ ที่ใช้ในสถาบันบำราศนราดูรนี้เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริง ผู้ปฏิบัติตลอดจนผู้ป่วยที่มารับบริการมีความพึงพอใจในระดับมาก

คำสำคัญ : แนวทางเวชปฏิบัติ; การระงับปวดหลังผ่าตัด; สถาบันบำราศนราดูร

 

Abstract

Post operative pain is the most common problem in surgical patients. Pain is intense in the first24 hours post operative. Good pain management will reduce the complications and hospital stay. Thisdescriptive study aimed at studying pain perception scores and satisfaction with pain managementguideline among patients and health professionals at Bamrasnaradura Infectious Institute. A number of36 patients undergone major surgery, 6 anesthetist nurses, and 23 registered nurses were included inthe study.

Results revealed that at a recovery room 68.6% of the patients had pain score 5-7 (based on a10-scale score). After 24 hours, the pain score was reduced to 3-4. Approximately 88.6% of patientswere satisfied with pain management protocol. Five out of eight steps of the protocol were frequently used by the anesthetist nurses. Post operativeconsultation for pain management was 33.3%.Most of the anesthetist nurses and registerednurses understand the pain management protocoland were satisfied with the protocol. Conclusion,the patients and health professionals weresatisfied with the pain management protocol ofBamrasnaradura Infectious Institute. The updateand improve of the protocol will help to maintainthe standard practice of pain management.

Key words: clinical practice guideline; postoperative pain management; BamrasnaraduraInfectious Diseases Institute

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ