ผลของการพยาบาลเจ้าของไข้ ร่วมกับการให้ข้อมูลสุขภาพต่อภาวะสุขภาพของ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยไตเทียม

Main Article Content

ธิดารัตน์ เพชรชัย
กัญญดา ประจุศิลป

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบภาวะสุขภาพของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ก่อนและหลังการใช้การพยาบาลเจ้าของไข้ร่วมกับการให้ข้อมูลสุขภาพ 2) ศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยไตเทียมต่อการใช้การพยาบาลเจ้าของไข้ ร่วมกับการให้ข้อมูลสุขภาพแก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจำนวน 30 คนและพยาบาลวิชาชีพหน่วยไตเทียมทั้งหมดจำนวน 6 คน ที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือในการทดลอง คือ โครงการอบรมการพยาบาลเจ้าของไข้ คู่มือการพยาบาลเจ้าของไข้ร่วมกับการให้ข้อมูลสุขภาพ แผนการให้ข้อมูลสุขภาพแก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ภาพพลิกประกอบการให้ข้อมูลสุขภาพแก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังและคู่มือการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามภาวะสุขภาพของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .80 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที (t - test)

ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้

1. ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังหลังการใช้การพยาบาลเจ้าของไข้ ร่วมกับการให้ข้อมูลสุขภาพ ( \bar{X} =3.12, S.D. = 0.621) ดีกว่าก่อนการใช้การพยาบาลเจ้าของไข้ ร่วมกับการให้ข้อมูลสุขภาพ (\bar{X} = 3.09 , S.D. = 0.636)แต่ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับ .05

2. พยาบาลวิชาชีพหน่วยไตเทียมมีความพึงพอใจโดยรวม ต่อการใช้การพยาบาลเจ้าของไข้ร่วมกับการให้ข้อมูลสุขภาพแก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังอยู่ในระดับมาก (\bar{X} = 4.28, S.D. = 4.535)

 

Abstract

The purpose of this quasi-experimental research were 1) to compare patient’ health status beforeand after using primary nursing with health information provision and 2) to study satisfaction ofhemodialysis nurses after using primary nursing with health information provision on chronic kidneydisease patient. Participants were 30 chronic kidney disease patients and 6 hemodialysis nursesselected by purposive sampling. The research instruments were the primary nursing training primarynursing with health information handbook primary, lesson plan of health information, health informationposter and self care.

Manual for patient with chronic kidneydisease. Research data were obtained byquestionnaires of the health status of the patientwith chronic kidney disease and the nurses’satisfaction. All instruments were tested forcontent validity by group of experts. Data wereanalyzed using percentage, mean, standarddeviation and t - test statistic.

Major finding were as follows:

1) The health status of chronic kidneydisease patients after using the primary nursingwith health information provision (\bar{X} = 3.12, S.D. =0.621) was higher than before using primarynursing with health information provision (\bar{X} = 3.09,S.D. = 0.636) but no significant difference at the .05

2) Satisfaction of hemodialysis nurseafter using primary nursing with health informationprovision on chronic kidney disease patient was atthe high level (\bar{X} = 4.28, S.D. = 4.535)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ