การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ชณิษฐ์ชา บุญเสริม
ผกามาศ สุฐิติวนิช
วรษา รวิสานนท์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิกลุ่มตัวอย่างคือ เยาวชนในสถานศึกษา อายุ 11 – 18 ปี จำนวน 1,500 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าไคสแควร์

ผลการศึกษา พบว่า เยาวชนเคยลองสูบบุหรี่ ร้อยละ 30.3 และยังคงสูบบุหรี่ในปัจจุบัน ร้อยละ 24.0 ซึ่งจะสูบบุหรี่ทุกวัน ร้อยละ 36.4 สูบวันละ 6 – 10 มวน ร้อยละ 34.7 และซื้อจากร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 33.1 โดยสถานที่ที่สูบบุหรี่เป็นส่วนใหญ่ คือ บ้านเพื่อน ร้อยละ 28.9 และพบว่าร้อยละ 13.6 มีการใช้ยาสูบรูปแบบอื่น สำหรับผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ (p < 0.001) อายุ(p < 0.001) และระดับการศึกษา (p < 0.001) 2) ปัจจัยด้านการสูบบุหรี่ของคนใกล้ชิด ได้แก่ การสูบบุหรี่ของเพื่อนสนิท(p < 0.001) และการสูบบุหรี่ของคนในครอบครัว (p = 0.011) 3) ปัจจัยด้านทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ (p < 0.001)4) การรับรู้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ (p = 0.045) 5) ปัจจัยด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย ได้แก่ การพบเห็นนักแสดงสูบบุหรี่ในสื่อต่าง ๆ (p < 0.001) การพบเห็นชื่อยี่ห้อบุหรี่ทางโทรทัศน์ (p < 0.001) การพบเห็นการโฆษณาในงานสังคม/งานชุมชนต่าง ๆ (p = 0.002) การมีสิ่งของเครื่องใช้ที่มียี่ห้อบุหรี่ติดอยู่ (p < 0.001) และการได้รับแจกบุหรี่ฟรีหรือตัวอย่างบุหรี่ (p < 0.001) 6) ปัจจัยด้านการสอนเกี่ยวกับบุหรี่ในโรงเรียน ได้แก่ การสอนเกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่ (p < 0.001) การสอนเกี่ยวกับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ (p < 0.001) และการอภิปรายเกี่ยวกับการสูบบุหรี่กับสุขภาพครั้งล่าสุด (p = 0.016)

 

Abstract

A survey of smoking behaviors among young people in Chaiyaphum province is cross-sectionalsurvey research. The research aimed to study smoking behaviors and factors relating smoking of youngpeople in Chaiyaphum province. Sample of the study consists of, from Stratified random sampling, 1,500(11 – 18 years old) high school students in Chaiyaphum province. Data collection used questionnairesurvey and data were analyzed through percentage, mean, standard deviation, maximum, minimum andChi-square.

Result, revealed that 30.3 % of young people tried to smoke cigarettes and 24 % of them havebeen smoking, 36.4 % of them smoke every day, 34.7 % of them smoke 6-10 curls of cigarette per day,and 33.1% of them buy the cigarette from convenience store, 28.9 % of them mostly smoke cigarette at theirs friend’s home, 13.6 % of them ever usedany form of tobacco products other thancigarettes. According to analyzing factors relatedto smoking behavior of young people wassignificant : 1) Demographic characteristic factors:sex (p < 0.001), age (p < 0.001), and level ofeducation (p < 0.001), 2) Smoking environmentalexposure factors: smoking friends (p < 0.001), andmembers in family (p = 0.011), 3) Attitude towardsmoking factors (p < 0.001), 4) Perception ofbanning smoking in public places laws p = 0.045),5) Advertising and sell promotion factors:encountering super stars smoking in mass media(p < 0.001), encountering advertisements forcigarettes in TV program (p = 0.018), encounteringadvertisements for cigarettes in sports events,fairs, concerts, or community events (p = 0.002),encountering cigarette brand’s label on things (p <0.001), distributed example cigarette for free (p <0.001) 6) Tobacco curriculum in school: teachingin the danger of smoking (p < 0.001), teaching inthe effect of smoking (p < 0.001), and lastdiscuss smoking and health as part of a lesson (p= 0.016).

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ