Global Warming Education Effect on Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Chang Wat Nonthaburi

Main Article Content

Utsanee Tepworachai
Suntaree Pinyomit
Nopparat Muanmee
Sirilak Dejphet

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

สาเหตุที่สำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์ โดยมนุษย์มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ในกลุ่มนักศึกษาพยาบาลพบว่ามีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาอย่างไม่เหมาะสม การวิจัยในครั้งนี้จึงต้องการศึกษาถึงความรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่เกี่ยวข้องกับความตระหนักต่อภาวะโลกร้อนของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Reserch) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการร่วมกิจกรรม วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาผลของทำกิจกรรมให้ความรู้เรื่องภาวะโลกร้อนแก่นักศึกษาพยาบาล โดยมีสมมติฐานการวิจัยว่า นักศึกษามีความรู้เรื่องภาวะโลกร้อนหลังร่วมกิจกรรมมากกว่าก่อนร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 จำนวน 139 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อวัดความรู้ก่อนและหลังการทำกิจกรรม คือ แบบวัดความรู้ จำนวน 25 ข้อ กิจกรรมที่ใช้ คือ เสียงตามสาย บอร์ดนิทรรศการ วีดีทัศน์ และบรรยายโดยวิทยากร เรื่องกลวิธีลดภาวะโลกร้อน ผลการวิเคราะห์ความรู้ก่อนและหลังการทำกิจกรรม ใช้การวิเคราะห์ t - test ผลการวิจัยพบว่ามีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) ผลการวิจัยครั้งนี้ไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจอธิบายได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างไม่มีความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อน เพราะคิดว่าเป็นปัญหาไกลตัว หรือกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องภาวะโลกร้อนมาก่อนเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

คำสำคัญ: ภาวะโลกร้อน; นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract

The purpose of this quasi-experimental study using one group pretest-posttest design was toexamine the effects of global warming education activities on the first year students of BoromarajonaniCollege of Nursing, Chang Wat Nonthaburi. A non-probability, purposive sample consisted of 139 firstyear nursing students who enrolled in academic year 2008. The intervention activities for providing globalwarming education to the students included a broadcasting global warming radio program on thecampus, watching VCD about global warming education, visiting global warming exhibition and attendingthe conference on strategies reducing global warming with the leading scientist. The research instrumentwas a pre-post test for assessing knowledge relating to global warming. The data were analyzed usingdescriptive statistics and t - test for pretest-posttest differentiation.

The results of the study revealed that there wereno statistically significant differences in the meanscores of knowledge about global warming beforeand after participating in the activities. It can beconcluded that the intervention activities may notmatch or be effective for increasing the knowledgeof the students. In addition, the students mayalready have previous knowledge relating to globalwarming, but not concern or aware of theimportance of global warming problems.

Keyword: Global Warming; Nursing Students

 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ