ผลการใช้อุปกรณ์ “อบอุ่นแขน แทนความห่วงใย” ต่ออุณหภูมิที่ปลายนิ้วมือ ของผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัด

Main Article Content

มนัสนันท์ ศิริสกุลเวโรจน์
วรารัตน์ แย้มโสภี
ถนอมจิตต์ ดวนด่วน
ศรัณยา ประสิทธิศิริกุล
กมลรัตน์ เทอร์เนอร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) เพื่อศึกษาผลของการใช้อุปกรณ์“อบอุ่นแขน แทนความห่วงใย” เปรียบเทียบกับการใช้ผ้าพับทบคลุมแขนแบบเดิมต่ออุณหภูมิที่ปลายนิ้วมือผู้ป่วยขณะได้รับการระงับความรู้สึกในห้องผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดในห้องผ่าตัด สถาบันบำราศนราดูร จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบว่าไม่มีปัญหาในเรื่องการไหลเวียนของเลือดที่บริเวณปลายมือทั้งสองข้างโดยวิธี Modified Allen’s test จำนวน 24 ราย แล้ววัดอุณหภูมิที่ปลายนิ้วมือทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วยคนเดียวกันโดยใช้อุปกรณ์ให้ความอบอุ่นแขนที่ต่างกัน วัด ณ เวลาเดียวกัน เครื่องวัด เครื่องเดียวกัน โดยใช้สายวัดอุณหภูมิ 2 เส้นบันทึกทุก 15 นาที จนสิ้นสุดการระงับความรู้สึก และเปรียบเทียบอุณหภูมิโดยใช้สถิติ paired t-test เก็บข้อมูลได้ 177 ครั้ง (replications) ในช่วงเดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน 2552

ผลการศึกษา พบว่า อุณหภูมิที่ปลายนิ้วข้างที่ใช้อุปกรณ์ “อบอุ่นแขน แทนความห่วงใย” สูงกว่าข้างที่ใช้ผ้าพับทบคลุมแขนแบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) อุณหภูมิปลายนิ้วข้างที่ให้สารน้ำร่วมกับใช้อุปกรณ์ฯ แตกต่างจากข้างที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ฯ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) และอุณหภูมิปลายนิ้วข้างที่ให้สารน้ำร่วมกับใช้ผ้าพับทบแบบเดิมต่ำกว่าข้างที่ใช้อุปกรณ์ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) แสดงว่าอุปกรณ์ “อบอุ่นแขน แทนความห่วงใย”สามารถป้องกันการสูญเสียความร้อนจากปลายนิ้วมือผู้ป่วยขณะได้รับการระงับความรู้สึกได้ดีกว่าการใช้ผ้าพับทบแบบเดิมเป็นการป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยแนวคิด และทฤษฎีการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายโดยการนำความร้อน (Conduction) และการพาความร้อน (Convection) เนื่องจากผ้าที่นำมาใช้ในการตัดเย็บเป็นอุปกรณ์ “อบอุ่นแขน แทนความห่วงใย” เป็นผ้าสำลีหนาอยู่ชั้นใน ซึ่งผ้าสำลีเป็นผ้าเนื้อหนาสามารถป้องกันการสูญเสียความร้อนโดยการนำและการพาได้ดีกว่าผ้าฝ้ายธรรมดา และการตัดเย็บที่ออกแบบให้มีการปกปิดมิดชิดกว่าทำให้ผิวหนังผู้ป่วยไม่สัมผัสกับอากาศภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ 20 - 22 องศาเซลเซียส เป็นผลให้การสูญเสียความร้อนโดยการนำและการพาความร้อนจากร่างกายผู้ป่วยส่วนที่ได้รับการห่อหุ้มไปสู่อากาศน้อยกว่าผ้าพับทบคลุมไว้แบบเดิม จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดในห้องผ่าตัดอื่นๆ ต่อไป

คำสำคัญ : อุปกรณ์ “อบอุ่นแขน แทนความห่วงใย”; สถาบันบำราศนราดูร; อุณหภูมิที่ปลายนิ้วมือ;การระงับความรู้สึก;ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ

 

Abstract

This quasi Experimental Research is acomparing the different of peripheral temperatureof the anesthetized patients during surgical period.Two types of equipments were employed ondifferent patients’ arms; traditional blanket and thenew arm socking coverage. Twenty four patients inBamrasnaradura Institute were enrolled duringOctober 2009 - November 2009. All twenty fourpatients were tested for peripheral vascularcompromise by modified Allen’s test after appliedthe equipments. Peripheral temperature wasmonitored every 15 minutes until the end of theoperations. The data were analyzed by descriptivestatistic and paired t-test.

The temperature on the arm with the newarm socking coverage had higher temperaturethan the arm with traditional blanket with statisticalsignificant (p < 0.05). There were no complicationof applied a new arm socking coverage in thisstudy. The veinepuncture and intravenous fluid canbe performed without any obstacles by theequipment. The new arm socking coverage is anew efficient way to protect the patients fromhypothermia during anesthesia.

Keywords : The new arm socking coverage ; Bamrasnaradura Institute; Peripheral temperature,anesthesia,;hypothermia

Article Details

How to Cite
ศิริสกุลเวโรจน์ ม., แย้มโสภี ว., ดวนด่วน ถ., ประสิทธิศิริกุล ศ., & เทอร์เนอร์ ก. (2013). ผลการใช้อุปกรณ์ “อบอุ่นแขน แทนความห่วงใย” ต่ออุณหภูมิที่ปลายนิ้วมือ ของผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัด. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี, 4(1), 38–49. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/4921
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ