คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบ MRM และได้รับเคมีบำบัด

Main Article Content

ทับทิม เปาอินทร์
เยาวรัตน์ รุ่งว่าง
เรวัต เตียสกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบ Modofied Radical Mastectorny (MRM) และได้รับเคมีบำบัด และศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบ MRM และเคมบำบัด ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน ได้แก่ อายุ รายได้ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบ MRM และได้รับเคมีบำบัดที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ระหว่าง เดือนสิงหาคม-กันยายน 2552 โดยการสุ่ม แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 128 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและแบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบ MRM และได้รับเคมีบำบัด เป็นเครื่องมือชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ 26 ตัวชี้วัด (World Health Organization Quality of Life assessmentinstrument : WHOQOL-BREF-THAI) ข้อมูลได้รับการวิเคราะห์โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานสถิติ One group sample t-test และเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Independent t-test และ One way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบ MRM และเคมีบำบัดที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนในเรื่องของ อายุ ระดับการศึกษาและสถานภาพสมรส มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเสนอให้มีการปรับปรุงรูปแบบการให้การช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดแบบ MRM และได้รับเคมีบำบัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยอย่างแท้จริงเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้สูงขึ้น

 

Abstract

The study was a descriptive research. The purposes were to examine the quality of life amongthe breast cancer patients receiving modified radical mastectomy (MRM) and chemotherapy, and tocompare the quality of life among those patients regarding individual factors including age, income,education, and marital status. The samples were breast cancer patients receiving MRM andchemotherapy hospitalized at Pranangklao Hospital during August to September 2009. The 128 considerusing cases samples were recruited. There were 54 cases samples using the purposive sampling and 74cases samples using accidental sampling. Data were corrected via the World Health Organization Qualityof Life assessment instrument: WHOQOL-BREF-THAI. Data were analyzed using the frequency, percentage, mean, standard deviation, one groupsample t-test, Independent t-test and One wayANOVA.

The finding showed statistically differentamong the quality of life of those who havedifferent income. The average score of the qualityof life among patients with high rate income washigher than the average score of the quality of lifeamong those with low rate income.

The study suggest that nursingadministrators and staff should manage a targetedinterventional programs of the breast cancerpatients receiving MRM and chemotherapy toimprove their overall quality of life. Additionally, theprograms should include the aspect of caring forthe patients who have low income.

 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ