ปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงของนิสิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Main Article Content

อนัญญา คูอาริยะกุล
กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร
พรรณพิไล สุทธนะ
ไพทูรย์ มาผิว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงของนิสิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตพยาบาล ชั้นปีที่ 1-4 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 296 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดHEEAD4S model ที่พัฒนาโดย The Adolescent Reproductive Health Project to enhance adolescentreproductive health care delivery ผลการวิจัยพบว่า นิสิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ มีพฤติกรรมเสี่ยงโดยรวม อยู่ในระดับต่ำ (\bar{X} = 0.94, S.D. = .19) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงสูงสุด คือ ด้านกิจกรรม ( \bar{X} = 1.86, S.D. = .40) รองลงมา คือ ด้านการรับประทานอาหาร ( \bar{X}= 1.50,S.D. = .42) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงต่ำสุดคือ ด้านยาและสารเสพติด ( \bar{X} = 0.11, S.D. = 0.15) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับพฤติกรรมเสี่ยงของนิสิตพยาบาล พบว่า รายได้ต่อเดือน และการเจ็บป่วยในรอบปีที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงของนิสิตพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดัชนีมวลกายและการรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงของนิสิตพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลการวิเคราะห์เพื่อค้นหาปัจจัยทำนายที่ดีในการทำนายพฤติกรรมเสี่ยงของนิสิตพยาบาล พบว่า รายได้ต่อเดือน ดัชนีมวลกาย ทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการเจ็บป่วยในรอบปีที่ผ่านมา ทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจในการทำนายรอ้ ยละ 38.70 สามารถสร้างสมการพยากรณ ์ ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

Y' = 84.35 + .332 รายได้ + .176 ดัชนีมวลกาย + .164 การเจ็บป่วยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

Zy' = .396 รายได้ + .213 ดัชนีมวลกาย + .162 การเจ็บป่วย

คำสำคัญ : พฤติกรรมเสี่ยงของนิสิตพยาบาล; ปัจจัยทำนาย

 

ABSTRACT

A descriptive research study was used to examine factors predicted health risk behaviors of thenursing students of Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit. The population consisted of 296-firstto fourth year nursing students who studied in the first semester in academic year 2009. Data werecollected using health risk questionnaire, modified by the researchers, that based on HEEAD4S Model  developed by The Adolescent Reproductive HealthProject to enhance adolescent reproductive healthcare delivery. The results revealed that total healthrisk behaviors score of the nursing students ofBoromarajonani College of Nursing, Uttaradit wasquite low ( \bar{X} = 0.94, S.D. = 0.19). For eachsubscale, the highest score was activity( \bar{X} = 1.86, S.D. = 0.40), next was eating ( \bar{X} = 1.50,S.D. = 0.42), and the lowest score was drugs andaddicted substances ( \bar{X} = 0.11, S.D. = 0.15).Significant relationships were found betweenincomes, history of illness in the past year, andhealth risk behaviors (p < .01). Significantrelationships were also found between body massindex (BMI), health perception, and health riskbehaviors (p < .05). The significant predictors ofhealth risk behaviors included incomes, BMI (p <.01), and history of illness in the past year (p <.05) which explained approximately 38.70%. Theequation of predicted factors in terms of rawscore was Y ' = 84.35 + .332 incomes + .176 BMI+ .164 illness. The equation of predicted factors interms of standard score was Zy' = .396 incomes +.213 BMI + .162 illness.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ