อุบัติการณ์และผลกระทบของการเกิดปอดอักเสบของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลนครนายก

Main Article Content

เพ็ญศรี ละออ
รัตนา เอกจริยาวัฒน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และผลกระทบของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจด้านอัตราตาย อัตราผู้ป่วยตาย ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ ระยะเวลาที่อยู่ในหอผู้ป่วยหนัก และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครนายก ระหว่างวันที่ 1มกราคม 2552 ถึง 30 มิถุนายน 2552 ได้รับการวินิจฉัยเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจโดยแพทย์ผู้รักษารวบรวมข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลการเกิดปอดอักเสบจาการใช้เครื่องช่วยหายใจ และแบบบันทึกค่าใช้จ่ายการรักษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติ หาค่าร้อยละ ค่าพิสัย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ในช่วงระยะเวลาที่ศึกษาพบผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเกิน 48 ชั่วโมง จำนวน 155 ราย เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 33 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ 17.1 ครั้งต่อการใช้เครื่องช่วยหายใจ 1,000 วัน พบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้ารับการรักษาด้วยโรคทางระบบประสาทและสมองและได้รับการผ่าตัด มีโรคประจำตัวมาก่อนเข้ารับการรักษาได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจก่อนเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก โดยพบว่าเชื้อแบคทีเรียแกรมลบคือPseudomonas aeruginosa และ Acinetobacter baumanii เป็นสาเหตุของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจมากที่สุด และส่วนใหญ่เป็นชนิด late-onset โดยในวันที่ 12.5 ของการใช้เครื่องช่วยหายใจพบเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจมากที่สุด

ผู้ป่วยที่เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจมีอัตราตาย คิดเป็นร้อยละ 9 ต่อผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจทั้งหมด อัตราผู้ป่วยตาย คิดเป็นร้อยละ 42.4 ต่อจำนวนผู้ป่วยที่เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ระยะเวลาที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักนานเฉลี่ย 27.4 วัน ระยะเวลาที่อยู่ในหอผู้ป่วยหนักนานเฉลี่ย 28.4 วัน ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเฉลี่ย 26,689.80 บาทต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 1 ครั้ง โดยเป็นค่ายาต้านจุลชีพมากถึงร้อยละ 75.3

จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อผู้ป่วยและทำให้โรงพยาบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก บุคลากรที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น และควรปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างเคร่งครัด

 

Abstract

The purpose of this retrospective study research were to determined incident and impacts ofVentilator-associated Pneumonia (VAP) including mortality rate, case fatality rate, day of ventilator, lengthof intensive care unit stay, and direct cost of VAP treatment of patients undergoing mechanicalventilation who were admitted into intensive care unit at Nakhon Nayok Hospital during January 2009 to June 2009. VAP occurrence was confirmeddiagnosis by a physician and collected by theresearcher. Data was analyzed using percentage,range, mean and standard deviation.

During the study period, there were 155mechanically ventilated patients. Thirty – threepatients developed VAP. The VAP incidence ratewas 17.1 per 1,000 ventilator-days. The mostfrequently in age over 60 years, in the nervoussystem and the brain, recived operation procedure,underlying disease, intubated endotrcheal tubebefore admission in intensive care unit. Theisolated VAP pathogens were Pseudomonasaeruginosa and Acinetobacter baumaniirespectively. The most were late-onset of VAP, and12.5 were mode of day after received ventilator.

Mortality rate of VAP cases was 9 per 100mechanically ventilated patients. Case fatality ratewas 42.4 per 100 VAPs patients. The mean lengthof ventilator days was 27.4 and length of intensivecare unit mean stay was 28.4 days. The averagecost 26,689.80 Baht per 1 VAP case, and highestcost was antibiotic drugs usage 75.3 percents.

The results of this study indicated seriousimpacts of VAP to patients and hospitals. Hospitalpersonnel who take care of mechanicallyventilated patients need to realize the impacts ofVAP and strictly follow VAP prevention guideline.

 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ