A Study on Emotional Quotient of the First Year Nursing Students of Boromarajonani College of Nursing, Chang Wat Nonthaburi
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2550 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สำหรับประชาชนไทยอายุ12-60 ปี ของกรมสุขภาพจิต (2544) ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยคำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test chi-square และ ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์โดยรวม องค์ประกอบหลักและแต่ละองค์ประกอบย่อยของนักศึกษาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นองค์ประกอบด้านดี องค์ประกอบด้านสุข และองค์ประกอบย่อยควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง ซึ่งได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ปกติ จากการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความฉลาดทางอารมณ์ในองค์ประกอบรายด้าน โดยภาพรวมของนักศึกษาทั้งในหลักสูตรปกติและในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในแต่ละองค์ประกอบย่อย มีเพียงองค์ประกอบย่อยพึงพอใจในชีวิตขององค์ประกอบด้านสุขที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคะแนนเฉลี่ยนักศึกษาในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้สูงกว่านักศึกษาในหลักสูตรปกติ
จะเห็นได้ว่า ผลการวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ได้ให้ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้วิจัย อาจารย์คนอื่นๆ และทุกหน่วยงานในวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยการปรับปรุงบทเรียนหรือสอดแทรกกิจกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งการจัดกิจกรรม หรือโครงการในการพัฒนาหรือส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ในแต่ละด้านให้แก่นักศึกษา และการทำวิจัยต่อไป
Abstract
The purpose of this descriptive research was to study the emotional quotient of the first yearnursing students of Boromarajonani College of Nursing, Chang Wat Nonthaburi. The sample wascomposed of 340 first year nursing students who were enrolled in the academic year 2007. Theinstrument used was the Thai Emotional Intelligence Screening Test. The data were analyzed usingdescriptive statistics, t-tests, chi-square and ANOVA.
The results showed that the mean scores of emotional quotient in overall, main structures andsubstructures of the first year nursing students were in the normal range, except the mean scores of thegoodness structure, happiness structure, and self-controlling substructure which were in the higherrange. There were no statistically significant differences in the mean scores of emotional quotient in all main structures of the students in both groups.However, for the substructures, the life-satisfactionsubstructure was statistically significant (p < 0.05),and the mean scores of the students in thesupplementary production of professional nursesfor solving the problems in the southernmostprovinces project were significantly higher than thestudents in the regular program (p < 0.05).
The results of this study provide usefulbasic data to instructors to enable them to modifyand improve their lessons, provide additionalteaching activities, and launching projects forpromoting the emotional quotient of the students.
Keywords: emotional quotient; nursing students
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว