พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่สถานสงเคราะห์คนชราจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

วริศา จันทรังสีวรกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ภาวะสุขภาพและความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ประชากรเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 82 ราย ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และแบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุของไพจิตรา ล้อสกุลทอง (2545) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสัมภาษณ์โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเท่ากับ .91และค่าความเชื่อมั่นของแบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง

2. ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

3. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .53)

คำสำคัญ : พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ; ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ

 

Abstract

The purpose of this descriptive research were to examine health promoting behaviors, healthstatus among the elderly ,and the relationship between health promoting behaviors and health status ofthe elderly. The subjects were 82 elderly whose age 60 years and over, and who resides atKhaoborkaew Home for the aged in Nakhonsawan Province. The research instruments included 1) theDemographic Data interview 2) the Health Promoting Behaviors interview developed by PaijitraLorsakultong (2002) Health Promoting Behaviors interview and the Health Status interview were .91and .87 respectively by using a Cronbach’ s alpha coefficient. Data were analyzed in terms of frequency,percentage, means, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient .

The results of this study demonstratedthat :

1. overall health promoting behaviors ofthe elderly was at a moderate level.

2. Overall health status of the elderlywere at a moderate level.

3. There were positive significantcorrelation between overall health promotingbehaviors and health status of the elderly at .01.(r = .51)

Key words : health promoting behaviors; healthstatus; the elderly

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ