ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทาน ยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ป่วยโรคเอดส์

Main Article Content

ดวงเนตร ธรรมกุล
ศิริพร ครุฑกาศ
อุษณีย์ เทพวรชัย
เยาวรัตน์ อินทอง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เรื่องโรคเอดส์ การรับรู้เรื่องการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ และการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ป่วยโรคเอดส์ ในโรงพยาบาลของจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 435 คนใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล2) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคเอดส์ 3) แบบสอบถามการรับรู้เรื่องการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และ 5) แบบสอบถามเกี่ยวกับการสนับสนุนทางสังคม

วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิธีการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า ความรู้เรื่องโรคเอดส์ และความรู้เรื่องการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ สามารถพยากรณ์พฤติกรรมความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ป่วยโรคเอดส์ พยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .001 โดยตัวแปรทั้ง 2 สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ป่วยโรคเอดส์ได้ร้อยละ 8.9

จากข้อค้นพบมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการประเมินความรู้เกี่ยวกับโรค และการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนจัดโครงการการให้สุขศึกษาอย่างจริงจังก่อนที่จะมีการเริ่มให้ยาต้านไวรัส นอกจากนี้ควรส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ให้ถูกต้องและเหมาะสม

คำสำคัญ: พฤติกรรมความต่อเนื่องสม่ำเสมอ; ยาต้านไวรัสเอดส์; ผู้ป่วยโรคเอดส์

 

Abstract

A descriptive research was designed todetermine the ability of personal characteristics,HIV/AIDS knowledge, health belief model ofantiretroviral medication, and social support forpredicting the adherence to antiretroviralmedication. The samples consisted of 435 HIV/AIDS patients selected by convenient sampling atspecial clinics or medical departments of hospitalsin Nonthaburi province, Thailand. The questionnairewith 5 sections including 1) individualcharacteristics 2) HIV/AIDS knowledge 3) healthbelief model of antiretroviral medication4) adherence to antiretroviral medication, and5) social support was used for collecting data.The data were analyzed by using frequency,percentage, mean, standard deviation andstepwise multiple regression.

The findings revealed that the variableswhich can predict the adherence to antiretroviralmedication among HIV/AIDS patients with 8.9% ofthe variance were HIV/AIDS knowledge andantiretroviral medication knowledge (p < .001).

The findings of this research suggestedthat health care providers should evaluate HIV/AIDS knowledge and antiretroviral medicationknowledge, and develop health education programfor the patients before starting antiretroviralmedication to promote continuing adherence toantiretroviral medication correctly and suitably.

Keywords: adherence; antiretroviral medication; HIV/AIDS patients

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ