ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคมกับภาวะเบื่องานของ อาจารย์พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคเหนือ สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

Main Article Content

ทมาภรณ์ สุขสวรรค์
กิ่งแก้ว แสงสว่าง
พิมพ์พิมล เรืองฤทธิ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะเบื่องานของอาจารย์พยาบาลและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคมกับภาวะเบื่องานของอาจารย์พยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคเหนือ สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกจำนวน 172 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป แบบสอบถามปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน แบบสอบถามปัจจัยด้านครอบครัวและสังคมและแบบสอบถามภาวะเบื่องาน แบบสอบถามทุกชุดผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่าน และคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .77, .88 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางคะแนนเฉลี่ยปัจจัยด้านครอบครัวและสังคมของอาจารย์พยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยภาวะเบื่องานของอาจารย์พยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะเบื่องานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.482) และ ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคมของอาจารย์พยาบาลมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะเบื่องานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.245)

คำสำคัญ: ภาวะเบื่องาน; ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน; ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคม

 

Abstract

The purpose of this descriptive researchaimed to investigate nurse lecturers’ burn out andthe relationship between work-related factors,family and social factors and burn out of nurselecturers in Boromarajonani Colleges of Nursing innorthern region under supervision ofPhraboromarajanok Institute. Samples were 172nurse lecturers selected by using simple randomsampling technique. Measures used includeddemographic data, work-related factors, socialsupport and burn out scales. All measures weretested for their validity and reliability. Data wereanalyzed using percentage, Mean, standarddeviation and Pearson’s Product MomentCorrelation Coefficient.

The results showed that mean score ofwork-related factor was at moderate level. Meanscore of family and social factors was at highlevel. Mean score of burnout in general was atmoderate level. Factors relating to practice ofnurse lecturers was negatively related to burnoutin general in moderate level. Factors relating tofamily and social of nurse lecturers was negativelyrelated to burnout in general in low level.

Keywords: Burn out; work-related factors; familyand social factors

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ