ความคิดเห็นต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาท และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

Main Article Content

ภัทรวดี ศรีนวล
สถาพร ถาวรอธิวาสน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากอาจารย์บุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 183 คน เปรียบเทียบความคิดเห็นโดยใช้สถิติ Crosstabs

ผลการศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาล พบว่า ด้านบุคคลมีความเป็นเลิศได้รับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และน้อยที่สุด คือด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ในด้านบุคคลมีความเป็นเลิศ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ด้านแบบแผนความคิด พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ยกเว้นระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ลักษณะตามตำแหน่งงานสนับสนุน และผู้ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานในวิทยาลัย 1 – 5 ปี และ 16 – 20 ปีด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ยกเว้นระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และผู้ที่มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัย 1 – 5 ปี การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ยกเว้นผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ตำแหน่งงานสนับสนุน และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัย 11 – 15 ปี และ16 – 20 ปี ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ยกเว้นระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และผู้ที่มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัย 11 – 15 ปี

ข้อเสนอแนะของการวิจัย ควรจัดกระบวนการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร ผู้บริหาร อุปกรณ์และการบริหารจัดการในเรื่องการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้งสายสนับสนุนและสายวิชาการ ควรทำวิจัยเปรียบเทียบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้จากกลุ่มตัวอย่างจากวิทยาลัยพยาบาลในเขตภูมิภาคกับส่วนกลาง

 

Abstract

The purpose of this study was to conduct an opinion survey on Boromarajonani college ofNursing, Chainat and Boromarajonani college of Nursing, Sawanpracharak Nakhonsawan as a learningorganization. Data were obtained through questionnaires presented to 183 members of support staff,Crosstabs were employed in analyzing the comparative opinions.

Results from the opinion survey on the nursing college as a learning organization indicated thatpersonal excellence received the highest mean score. Second in the mean score were shared visions.Team learning and systematic thinking had the lowest mean score. of opinions on the nursing college as a learning organization based on personalexcellence indicated that difference indemographic characteristics did not resulted insignificant difference of opinions. With regard tomental model, difference in demographiccharacteristics did not result in difference inopinions except for respondents with educationlower than bachelor’s degree, in the support staff,and working between 1 – 5 years or 16 -20 years.With respect to shared visions, difference indemographic characteristics did not result insignificant difference of opinions except forrespondents who had no undergraduate degree orworked between 1 – 5 years. Difference indemographic characteristics did not result insignificant difference in team learning except forrespondents with no undergraduate degree, beinga member of support staff, and having worked for11 – 15 years and 16 – 20 years. Difference indemographic characteristics did not result indifference in systematic thinking except forrespondents without an undergraduate degree andworking for 11 – 15 years.

Recommendations from this study includebetter preparation of personnel, management inboth academic and support positions andequipment required to make the implementation oflearning organization successful. Further researchmaking comparison with similar organizations fromthe central region is also recommended.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ