ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายและการรับรู้อุปสรรค ของการออกกำลังกายกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

พิทักษ์พงศ์ ปันต๊ะ
ดาว เวียงคำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ หาความสัมพันธ์และสร้างสมการในการทำนายพฤติกรรม การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จากปัจจัยส่วนบุคคล (เพศ, อายุ, อาชีพ,สถานภาพสมรส, ระดับการศึกษา, ระดับรายได้) การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายและการรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกายกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพะเยา มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 426 คน ที่สุ่มแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบสัมภาษณ์การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย และแบบสัมภาษณ์การรับรู้อุปสรรคการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สมการถดถอยพหุคูณ โดยใช้เทคนิคแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรค เป็นปัจจัยร่วมกันทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 3.3 (R2 = .033; p < .05) โดยจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถเขียนสมการในการทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้

การออกกำลังกาย = 1.261 + 0.866 (การรับรู้ประโยชน์) – 0.772 (การรับรู้อุปสรรค)

 

Abstract

The purposes of this research were to study relationship between personal factors, perceivedbenefits of physical activity and perceived barriers physical activity with physical activity of older adultswho lived in Phayao province. Systematic sampling technique was used to select 426 subjects aged 60years old from Phayao province. The instrument for this study were (1) questionnaire about personalfactors, (2) questionnaire about physical activity (3) perceived benefits of physical activity ,and (4)perceived barriers of physical activity . The researchers used stepwise multiple regression to analyze thedata.

The results showed that perceived benefits and perceived barriers were significant predictorsphysical activity of older adults who lived in Phayao province 3.3 % (R2 = .033; p < .05) The formula wasas follow:

Physical Activity = 1.261 + 0.866 (perceived benefits) - 0.772 (perceived barriers)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ