ความพึงพอใจของอาจารย์ต่อระบบและกลไกการสร้างแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

เยาวรัตน์ รุ่งสว่าง
มาสริน ศุกลปักษ์
รุจิพร จิตตวิสุทธิวงศ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์ต่อระบบและกลไกการสร้างแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรีประชากรที่ศึกษา คือ อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี ที่ปฏิบัติงานจริงในช่วงปีการศึกษา 2553 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบและกลไกการสร้างแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิชาการ อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของอาจารย์ต่อระบบและและกลไกการสร้างแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิชาการโดยภาพรวม อยู่ในระดับสูง (x̄ = 4.08, S.D. = 0.87) โดยพบว่า การจัดกิจกรรมกระตุ้น ส่งเสริมให้อาจารย์ ผลิตผลงานวิชาการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.22, S.D. = 0.98) และด้านการจัดหาสารสนเทศที่ง่ายต่อการค้นคว้า มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ = 3.47, S.D. = 0.98)

ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยครั้งนี้งานพัฒนาผลผลิตทางวิชาการสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบและกลไกในการสร้างแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิชาการโดยเน้นเรื่องการจัดหาสารสนเทศที่ง่ายต่อการค้นคว้า

 

Abstract

The purposes of descriptive research were examine the satisfactions of nursing instructorstoward motivating system and mechanisms to produce academic research at Boromarajonani College ofNursing, Chang Wat Nonthaburi. Instruments used to collect data were research situation questionnaires.Content validity was approved by the group of experts. The internal reliability of the scale and test were0.70. Statistical techniques used in data analysis were mean and standard deviation.

Results showed that the satisfactions of nursing instructors toward motivating system andmechanisms to produce academic research in total was high (x̄ = 4.08, S.D. = 0.87). Motivating activitieswhich promoted instructors to create academic project were at the highest rate (x̄ = 4.22 S.D. = 0.98).Information technology support was at the lowest rate (x̄ = 3.47, S.D. = 0.98).

Research findings can be applied as a guideline for the Research Division to improve andmaintain their service continually, and to administrative committee for setting supportive policies in thenear future especially, information technology support.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ