ผลของการให้ความรู้ทางด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

Main Article Content

จิราภรณ์ ชูวงศ์
เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมก่อนและหลังการให้ความรู้ด้านสุขภาพ และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่แผนกไตเทียม โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง จำนวน 23 ราย

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ แผนการให้ความรู้ด้านสุขภาพ สื่อวีดีทัศน์ และคู่มือการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ทางด้านสุขภาพ และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ สถิติทดสอบที และสถิติสหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ทางด้านสุขภาพเรื่องโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ทั้งก่อนและหลังการทดลอง (r = .435, .524 p <.05)

การให้ความรู้ทางด้านสุขภาพแบบรายบุคคล ร่วมกับสื่อวีดีทัศน์และคู่มือการดูแลตนเองเมื่อได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มีส่วนสำคัญทำให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: การให้ความรู้ทางด้านสุขภาพ; พฤติกรรมการดูแลตนเอง; การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

 

Abstract

The purpose of this study is to study therelationship between the effects of healthknowledge and self -care behaviors of patientswho have been diagnosed with chronic renalfailure and received hemodialysis.

Research design and Setting A Quasi-Experimental Design (Pre-post Test) wasconducted in Trang hospital to study the effect ofrelationship between knowledge of chronic renalfailure for participants with renal failure and theirself-care behaviors before and after theexperimental have been take place. There aretwenty three participants were eligible to thisstudy. Participants who enrolled in this study wereasked for general information, testing forknowledge of chronic renal failure and their selfcarebehaviors. The questionnaires have been testfor reliability. The alpha conbach test was 0.90.The percentage, standard deviation, paired t-testand Pearson were used to analysed thecorrelation.

Results: The study found that the score ofknowledge in term of chronic renal failure andpatient self-care behaviors before and after theexperimental were had the correlated. Additionally,the important difference of the “before” and “after”experiment in term of average score werestatistically significant (p = 0 .05) level

Keywords: Health education; self care behavior;hemodialysis

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ