การศึกษาความสามารถในการใช้ความคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาลชั้นปี 2 ที่เรียนวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1

Main Article Content

กรรณิกา รักยิ่งเจริญ
อาภรณี ไทยกล้า
นุชนาท ประมาคะเต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้ความคิดขั้นสูง และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ความคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่เรียนรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 กลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา จำนวน 101 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วยแผนภูมิมโนทัศน์ (Concept mapping) แบบทดสอบความเรียงภาคขยายหรือแบบทดสอบ MEQ (Modified essayquestions) และแบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ความคิดขั้นสูง และนำไปหาความสัมพันธ์ของปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการใช้ความคิดขั้นสูง โดยใช้สถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการใช้ความคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 อยู่ในระดับต่ำ ( x̄=9.3) 2) ปัจจัยด้านตัวนักศึกษา ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านเชาว์ปัญญา ปัจจัยด้านพื้นฐานทางครอบครัว ปัจจัยด้านเทคนิคการสอนของอาจารย์ และปัจจัยด้านสื่อที่ใช้ในการสอนมีผลต่อการใช้ความคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.52,x̄ = 3.40,x̄ = 3.71,x̄ = 4.27,x̄ = 4.06,x̄ = 3.74 ตามลำดับ) 3) เทคนิคการสอนของอาจารย์มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการใช้ความคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .214) 4) ระดับผลของการเรียน (GPA) สื่อที่ใช้ในการสอนมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการใช้ความคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .258, r = .543 ตามลำดับ) และ5) ระดับผลของการเรียน (GPA) สื่อที่ใช้ในการสอนสามารถทำนายความสามารถในการใช้ความคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่เรียนรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 ที่ร้อยละ 33 (R2 = .330) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: ความคิดขั้นสูง; วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1; แผนภูมิมโนทัศน์;แบบทดสอบความเรียงภาคขยาย

 

ABSTRACT

This research purposed to study the higher- ordered thinking abilities of sophomore nursingstudents in adult and elderly nursing 1 as it is clinical nursing subject and find out the factors effectedto higher- ordered thinking of those students. The sample population was 101 of the sophomore nursingstudents, St Theresa International College. The concept mapping, MEQ test (Modified essay questions)and questionnaire were research tool using for relationship testing what factors effected to higherorderedthinking. Data was analysis using mean, standard deviation, Pearson s product momentcorrelation and stepwise regression.

The results showed that 1) the total scoreof higher- ordered thinking abilities of sophomorenursing students in adult and elderly nursing 1were at low level. (x̄ = 9.3) 2) Student’s ability,study environment, instruction media, intelligencequotient, family background, and instructors wererelated statistically with higher order of thinking atthe higher level. (x̄ = 3.52,x̄ = 3.40,x̄ = 3.71,x̄ =4.27,x̄ = 4.06,x̄ = 3.74 respectively) 3) Teachingtechnique were significantly and positively relatedto higher order of thinking at level .05 (r = .214)4) GPA and instruction media were significantlyand positively related to higher order of thinkingat level .01 (r = .258, .543 respectively) and 5) GPAand instruction media were significant predictorswith higher order of thinking at level .05 Thepredictive power was 33 percent of the variance.(R2 = .330)

Keywords: Higher- ordered thinking; Adult andelderly nursing 1; Concept Mapping; Modifiedessay questions

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ