การรับรู้ภาวะการเจ็บป่วยด้านสุขภาพกับวิธีการส่งเสริมความสนใจของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อเข้ารับการรักษาตามนัดอย่างต่อเนื่อง

Main Article Content

สุนทรีภรณ์ ทองไสย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันปัญหาการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) จัดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประชากรจำนวนมากกว่า 180 ล้านคนกำลังเผชิญกับโรคเบาหวานและคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2030 จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นทวีคูณ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยมากถึงสองในสามของประชากรผู้ป่วยทั้งหมดในโลก จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยเบาหวานเป็นเวลา 1 ปี พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มารับการรักษาตามนัด คือปัญหาเรื่องการลืมวันนัด ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินประสิทธิผลของวิธีการส่งเสริมการเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกผู้ป่วยนอก และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยพยากรณ์การเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยเบาหวาน

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 442 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบอิสระแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 224 คน โดยประชากรกลุ่มทดลองจะได้รับการเตือนทางจดหมาย 1 สัปดาห์ก่อนวันนัดร่วมกับได้รับโทรศัพท์เตือน 24 ชั่วโมงล่วงหน้าก่อนวันนัด เพื่อลดปัญหาการลืมวันนัดของผู้ป่วย โดยที่ประชากรกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการเตือนด้วยรูปแบบใดๆ ยกเว้นการเตือนแบบทั่วไปของโรงพยาบาล

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่คลินิกผู้ป่วยนอกทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีอัตราการมาเข้ารับการรักษาตามนัดดีขึ้นโดยภาพรวมคิดเป็น 90% เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติการเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้ที่มีเพียง 65% ทั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างการส่งจดหมาย และการโทรศัพท์เพื่อเตือนผู้ป่วยก่อนถึงวันนัดต่อการเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยนอก คลินิกโรคเบาหวาน (p>.05) เนื่องจากการติดตามผู้ป่วยทุกรูปแบบจะส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างผู้ติดตามและผู้ป่วย รวมทั้งได้แก้ไขปัญหาบางอย่างของผู้ป่วยก่อนเข้าพบแพทย์ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับทีมสุขภาพที่ให้บริการเพราะความสัมพันธ์ที่มีระหว่างกันอาจส่งผลต่อการเข้ารับการรักษาตามนัดอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วย

 

Abstract

Nowadays, illness and death from Diabetes mellitus is one of the leading cause of economic lossis enormous. There are 180 million people are facing with the problem of diabetes and the number ofpatients expected to rise to double in the year 2030 (www.WHO.int, 2009), especially in developingcountries, that represent two-thirds of the patient population in the world. According to retrospectivestudy of patients with diabetes for 1 year found that the majority of patients with diabetes those do notattend their appointment were influence by forget their appointment. The aims of the research were: 1) To evaluate the efficacy of an intervention toenhance attendance at diabetic outpatient clinicsin Thailand and 2) To identify predictors of nonattendance

This study is a Randomized Controlled Trialwith a sample of 442 people that have beenrandom independent divided into 2 groups. Finally,224 participants were enrolled in each group.Participants in the intervention group will receive awarning letter a week before the meeting togetherwith a telephone reminder 24 hours before theirinitial appoint. As we assumed that this strategieswould reduce their problem with forget anappointment. Whereas, participants in the controlgroup will not be prompted by any form, except toremind the general hospital.

Results: The overall attendance rate inpatients with type 2 diabetes at the diabeticoutpatient clinic, improved to 90% compared withthe previous appointment that were 65%. Despitethis we did not find any significant effect onappointment keeping associated with theintervention, as the attendance of both groupsimproved. One reason this may have occurred isthe relationship formed between researcher andpatients. Regarding to the previous statement tofollow up with patient may help to improve theirrelationship that finally could resolve patientproblem in advance before they confront with thespecialist. Conclusions: Further research should beconducted to find out the effect of staffrelationships which may have influenced onappointment keeping among these patients.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ