การสร้างสุขภาวะในองค์กร

Main Article Content

ดวงเนตร ธรรมกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

สมดุลแห่งสุขภาวะในองค์กรเกิดขึ้นด้วยปัจจัยหลายประการ ได้มีนักวิชาการเสนอปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะในองค์กรไว้หลากหลาย ดังนั้นบทความนี้ได้ทบทวนวรรณคดีที่เกี่ยวข้องทั้งจากโลกตะวันตก โลกตะวันออก และการดำเนินงานในประเทศไทย เพื่อให้ทราบว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะในองค์กร และการที่เกิดสุขภาวะภายในองค์กร ก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างไร

แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร ควรคำนึงถึง 1) สุขภาพและความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในการทำงาน 2) สุขภาพ ความปลอดภัย และความผาสุกของสิ่งแวดล้อมทางจิตสังคมในการทำงาน รวมทั้งระบบการจัดการและวัฒนธรรมในองค์กร 3) แหล่งทรัพยากรสุขภาพส่วนบุคคลในสถานที่ทำงาน และ 4) ช่องทางการเข้าถึงชุมชนเพื่อปรับปรุงสุขภาพของพนักงาน ครอบครัวของพนักงาน และสมาชิกอื่น ๆ ในชุมชน ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรต้องมีการดำเนินการตามระบบและขั้นตอนที่กำหนดขึ้น เช่น มีการระดมกำลัง การประชุม การประเมินการจัดลำดับความสำคัญ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การประเมินผล และปรับปรุงการดำเนินงาน ทั้งนี้ควรมีเครื่องมือตรวจสอบสุขภาวะองค์กร เพื่อจะได้ทราบประเด็นที่ควรได้รับการแก้ไข สำหรับดัชนีสำคัญของสุขภาวะองค์กร คือ การได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร การได้รับการสนับสนุนและมีส่วนร่วมจากพนักงาน มีนโยบายการสร้างสุขภาวะในองค์กร มีการบูรณาการไว้ในยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบและมีกระบวนการทำงาน มีโครงสร้างการดำเนินงานและมีการวิเคราะห์งาน การได้รับการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น การจัดเตรียมข้อมูลและฝึกอบรมทีมงาน มีการประเมินและกำกับติดตาม มีการใช้เครื่องมือการวัดที่มีประสิทธิภาพ และมีวิธีการสร้างความเข้าใจในประเด็นสร้างสุขภาวะ ทั้งนี้เพื่อให้คนในองค์กรเป็นกงจักรสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลต่อไป

 

Abstract

A balance of healthy in organizations can be occurred from several factors. Scholars haveproposed factors associated with healthy organization in a variety. So the purpose of this article was toreview related literature on factors promoting healthy in organizations and their effects from bothThailand and others countries.

The concept of creating a healthy organization should consider 1) Health and safety of thephysical environment in the workplace, 2) Harmonious psychological environment including themanagement system and culture in the organization, 3) Personal health-related resources in theworkplace, and 4) Channels for accessing to the community in order to improve health of employees,their families, and other people in the community. Healthy organization can be developed by followingestablished systems and steps such as mobilizing resources, assembling related personnel fordiscussion and meetings, assessing the situations, prioritizing key issues, planning necessary steps, doing—carrying out the plan, evaluation, andimproving upon actions taken. As such, tools fordetermining a workplace’s health should beavailable for identifying issues which should beaddressed. The importance healthy organizationindices were support from administrators,cooperation and participation from employees,policies promoting a healthy workplace, havingsystemic integration into organizational strategiesand process of work, having a proceduralstructure and work analysis, receiving support ofnecessary resources, data preparation and trainingof teamwork, having evaluation and monitoring,using effective measurement tools, and having themethods for promoting the understanding in theissues relating to develop healthy organization. Sothat people in the organization can continuallypropel the organization effectively and efficiently.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ