ปัจจัยพัฒนาองค์กรแห่งความสุข (ภาครัฐ): การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ Factors associated with happy workplace (public sector organization): A systematic review
Main Article Content
บทคัดย่อ
องค์กรภาครัฐมีเป้าหมายและลักษณะการดำเนินงานขององค์กรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และบริบทในการทำงานที่แตกต่างกัน ทำให้นิยามองค์กรแห่งความสุขขององค์กรภาครัฐมีจุดเน้นเฉพาะที่แตกต่างจากองค์กรในภาคเอกชน ย่อมส่งผลให้ปัจจัยที่ทำให้
เกิดองค์กรแห่งความสุขแตกต่างกันไป วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อสรุปองค์ความรู้ของการศึกษาเกี่ยวกับองค์กรแห่งความสุข (Happy workplace) และปัจจัยที่สัมพันธ์กับองค์กรแห่งความสุขในบริบทขององค์กรภาครัฐ โดยใช้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ สืบค้นรายงานวิจัยต่างประเทศเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์กรแห่งความสุขภาครัฐ จากระบบฐานข้อมูลออนไลน์ ได้แก่ CINAHL, Pubmed, Acadamic Search Complete, Social Sciences Full Text (EBSCO host) โดยเลือกเฉพาะวารสารที่มีการตรวจสอบคุณภาพโดยพิชญพิจารณ์ (Peer review) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005-2014 โดยกำหนดคำสำคัญ (Keywords) ดังนี้ องค์กรแห่งความสุข (Happy workplace or happy organization or workplace environment) องค์กรภาครัฐ (Public sector or public organization or civil service) องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร (Non-profit organization) ความพึงพอใจในงาน (Work satisfaction or job satisfaction) คุณภาพชีวิต (Quality of life) ความผาสุก (Well-being) ความสุขของคนทำงาน (Happiness of worker)
ผลการทบทวนงานวิจัยพบว่า องค์กรแห่งความสุขในบริบทขององค์กรภาครัฐจะมีลักษณะเป็นองค์กรที่บุคลากรหรือ
พนักงานในองค์กรมีความพึงพอใจต่อการทำงานในองค์กร มีจิตวิญญาณในการทำงานขององค์กร และองค์กรมีสมรรถนะองค์กรที่ดี โดยมีปัจจัยพัฒนาองค์กรแห่งความสุข ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กร การบริหารทรัพยากรบุคคล ความผูกพันต่อองค์กรและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ดังนั้นการพัฒนาองค์กรภาครัฐไปสู่องค์กรแห่งความสุข องค์กรควรให้ความสำคัญในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานทรัพยากรบุคคลและส่งเสริมให้เกิดความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กรและมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร
เกิดองค์กรแห่งความสุขแตกต่างกันไป วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อสรุปองค์ความรู้ของการศึกษาเกี่ยวกับองค์กรแห่งความสุข (Happy workplace) และปัจจัยที่สัมพันธ์กับองค์กรแห่งความสุขในบริบทขององค์กรภาครัฐ โดยใช้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ สืบค้นรายงานวิจัยต่างประเทศเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์กรแห่งความสุขภาครัฐ จากระบบฐานข้อมูลออนไลน์ ได้แก่ CINAHL, Pubmed, Acadamic Search Complete, Social Sciences Full Text (EBSCO host) โดยเลือกเฉพาะวารสารที่มีการตรวจสอบคุณภาพโดยพิชญพิจารณ์ (Peer review) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005-2014 โดยกำหนดคำสำคัญ (Keywords) ดังนี้ องค์กรแห่งความสุข (Happy workplace or happy organization or workplace environment) องค์กรภาครัฐ (Public sector or public organization or civil service) องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร (Non-profit organization) ความพึงพอใจในงาน (Work satisfaction or job satisfaction) คุณภาพชีวิต (Quality of life) ความผาสุก (Well-being) ความสุขของคนทำงาน (Happiness of worker)
ผลการทบทวนงานวิจัยพบว่า องค์กรแห่งความสุขในบริบทขององค์กรภาครัฐจะมีลักษณะเป็นองค์กรที่บุคลากรหรือ
พนักงานในองค์กรมีความพึงพอใจต่อการทำงานในองค์กร มีจิตวิญญาณในการทำงานขององค์กร และองค์กรมีสมรรถนะองค์กรที่ดี โดยมีปัจจัยพัฒนาองค์กรแห่งความสุข ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กร การบริหารทรัพยากรบุคคล ความผูกพันต่อองค์กรและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ดังนั้นการพัฒนาองค์กรภาครัฐไปสู่องค์กรแห่งความสุข องค์กรควรให้ความสำคัญในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานทรัพยากรบุคคลและส่งเสริมให้เกิดความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กรและมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร
Article Details
How to Cite
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว