การติดตามผลลัพธ์ระยะยาวในการสนับสนุนการจัดการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาล ในกระแสเลือดและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษา บ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง Long term outcomes of the self–management support in patien

Main Article Content

บุศรินทร์ ผัดวัง
ถาวร ล่อกา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและเปรียบเทียบ ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) และระดับความดันเลือดแดงเฉลี่ย (MAP) ของผู้ป่วยหลังเข้าร่วมกิจกรรมการสนับสนุนการจัดการตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 27 คน และญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 27 คน ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่ปี 2555 และติดตามผลลัพธ์ระยะยาว 2 ปี เก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบบันทึกระดับ FBS และ MAP และแบบสอบถามการมีส่วนร่วมของญาติ/ผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ ตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ผลการเปรียบเทียบ ระดับ FBS ของผู้ป่วย ก่อนและหลังการร่วมกิจกรรม พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกและทางสถิติที่ระดับ (p< .05) ส่วนระดับ MAP ของผู้ป่วยก่อนและหลังการร่วมกิจกรรม พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน การมีส่วนร่วมของญาติ/ผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับดี (X=3.42, SD = 0.62) การมีส่วนร่วมของครอบครัวรายด้านพบว่าให้การช่วยเหลือ/กระตุ้นผู้ป่วยในการไปตรวจตามนัดทุกครั้งอยู่ในระดับดี รองลงมาคือการกระตุ้นให้ผู้ป่วยหรือญาติออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรค การจัดการอาหาร ความร่วมมือในการรับประทานยา การให้กำลังใจและการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของโรค อยู่ในระดับดี เนื่องจากกิจกรรมการสนับสนุนการจัดการตนเองส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระยะยาว จึงควรขยายกิจกรรมนี้ให้ครอบคลุมผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายอื่นต่อไป

Abstract

This study compared fasting blood sugar (FBS) and mean arterial pressure (MAP) of patients with diabetes and hypertension following their participation in the self-management support activities. The sample comprised of 27 patients who had both diabetes and hypertension and 27 family members or caregivers who participated in self-management activities in 2012 and were followed up for two years. FBS and MAP were recorded periodically and family involvement was assessed at the end of the follow-up using a 4-point Likert scale instrument developed by the researchers with Cronbach’s alpha of 0.92. Descriptive statistics and One-Way ANOVA were used to analyse the data. We found a statistically and clinically significant decrease in FBS (p < .05) following the participation whereas MAP remained unchanged. Overall family involvement was good
(X =3.4, SD = 0.62). Upon examination of individual aspects of family involvement, follow-up visit reinforcement and help was very good whereas exercise reinforcement, diet management, adherence to medication regimen, mental support and monitoring complications were good. Because of their sustainability, self-management support activities should be expanded to other patients with diabetes and hypertension.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ