ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

Main Article Content

วิภาพร สิทธิสาตร์
ภูดิท เตชาติวัฒitน์
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์
ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional survey) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.) ในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างคือ อสม.ที่ปฏิบัติงานใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 401 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่ง
ชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Multiple logistic regression นำเสนอค่า Adjusted OR พร้อมช่วง
เชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษา พบว่า 1) ความสามารถด้านความรู้ อยู่ในระดับสูง (X= 9.30 ± 1.47) ความสามารถด้านทักษะอยู่ในระดับต่ำ (X= 13.38 ± 2.13) และด้านทัศนคติ อยู่ในระดับสูง (X = 48.55 ± 5.95) 2) อสม.มีผลการปฏิบัติงานในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป ร้อยละ 55.36 (X = 61.34 ± 10.43 คะแนน (เต็ม 85 คะแนน) 3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน ของ อสม. คือ ทัศนคติในการปฏิบัติงานโดย อสม.ที่มีทัศนคติในระดับสูง มีโอกาสมีผลการปฏิบัติงานมากเป็น 2.46 เท่า ของ อสม.ที่มีทัศนคติในการปฏิบัติงานระดับต่ำถึงปานกลาง (95%CI = 1.46 ถึง 4.15, p – value = 0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนส่งเสริมและพัฒนาผลการปฏิบัติงานของ อสม.ในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเน้นการส่งเสริม สนับสนุนทัศนคติที่ดีของ อสม. เพื่อปฏิบัติงานควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Wipaporn Sithisart* Phudit Tetjativaddhana** Nithra Kitreerautiwong*** Sunsanee Mekrungrongwong****


Abstract
This cross sectional survey aimed to identify factors being associated with the performance of Village Health Volunteers (VHVs) for non-communicable diseases control in Lower Northern of Thailand. Studied populations (n=401) were selected by stratified random sampling. We distributed questionnaires for collecting data and analyzed them with descriptive statistics (ratio, X , median, SD, Min and Max) and inferential statistic such as multiple logistic regression analysis. We determined statistic significance at p<0.05 and 95%CI.
Results: VHV’s cognitive performances for non-communicable chronic disease control was high(X= 9.30, SD=1.47), skill performance was low (X=13.38, SD=2.13) and attitude was high (X=48.55, SD=5.95)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ