รูปแบบเชิงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในระยะ 6 เดือน หลังคลอด และผลต่อบทบาทมารดา

Main Article Content

thanyamol suriyanimitsuk
wannee deawisareat
pairat wongnam
Phoebe D. Williams

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural model) ระหว่างตัวแปรทำนาย ได้แก่ ความพึงพอใจในสัมพันธภาพคู่สมรส ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในชีวิต การสนับสนุนทางสังคม ความเครียดในการเลี้ยงดูบุตร และภาวะซึมเศร้าในระยะ 6 เดือน หลังคลอดต่อบทบาทมารดา กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังคลอด 6 เดือน ในจังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 215 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ชุดแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป แบบวัดสัมพันธภาพคู่สมรส แบบวัดความเครียดในการเลี้ยงดูบุตร แบบวัดความมีคุณค่าในตนเอง แบบประเมินความเครียดในชีวิต แบบวัดการสนับสนุนหลังคลอด แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบวัดการดำรงบทบาทมารดา
ผลการวิจัย พบว่าโมเดลเชิงโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยสามารถ อธิบายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าในระยะ 6 เดือน หลังคลอดได้ร้อยละ 19 และอธิบายความแปรปรวนของบทบาทการเป็นมารดาได้ร้อยละ 9 โดยพบว่า ความเครียดในการเลี้ยงดูบุตรมีอิทธิพลบวกทางตรงอย่างมีนัยสำคัญต่อภาวะซึมเศร้าในระยะ 6 เดือน หลังคลอด (ß = .284, p< .05) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีอิทธิพลลบทางตรงอย่างมีนัยสำคัญต่อภาวะซึมเศร้าในระยะ 6 เดือน หลังคลอด (ß = -.239, p< .05) การสนับสนุนทางสังคมมีอิทธิพลบวกทางตรงอย่างมีนัยสำคัญต่อบทบาทการเป็นมารดา (ß = .288, p< .05) สรุปการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานนำไปสู่การให้การช่วยเหลือและป้องกันหญิงหลังคลอดที่เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าในระยะหลังคลอด ซึ่งจะมีผลต่อการปฏิบัติบทบาทมารดาของหญิงหลังคลอดได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ