ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรม เขตภาคเหนือตอนล่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชน ระหว่างเดือน กันยายน 2555 – ธันวาคม 2556 จำนวน 380 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลการเจ็บป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด – ค่าสูงสุด และหาอิทธิพลของปัจจัยโดยใช้สถิติ χ2 test และ Multiple logistic regression analysis กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.05 และ 95% CI
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 24.75 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างและรับราชการ ที่พักอาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล และเจ็บป่วยครั้งนี้ด้วยภาวะคลอดติดขัด หรือระยะคลอดยาวนาน ระยะตัดสินใจเข้ารับบริการของการเจ็บป่วยฉุกเฉินครั้งนี้เฉลี่ย 316.52 นาที และมีการเข้าถึงบริการทันเวลา ร้อยละ 91.32 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การวินิจฉัยโรคที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน การเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ และการคลอด เขตที่อยู่อาศัยของผู้ป่วย และชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่มีแหล่งประโยชน์สำหรับการดูแลเมื่อเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ดังนั้น การดำเนินการที่จะทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมเข้าถึงบริการอย่างทันเวลานั้น ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีศักยภาพในการดูแลตนเอง และตัดสินใจเข้ารับบริการอย่างทันเวลา พัฒนาศักยภาพครอบครัว และชุมชนให้สามารถดูแลผู้ป่วย และสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้ทันเวลา
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 24.75 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างและรับราชการ ที่พักอาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล และเจ็บป่วยครั้งนี้ด้วยภาวะคลอดติดขัด หรือระยะคลอดยาวนาน ระยะตัดสินใจเข้ารับบริการของการเจ็บป่วยฉุกเฉินครั้งนี้เฉลี่ย 316.52 นาที และมีการเข้าถึงบริการทันเวลา ร้อยละ 91.32 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การวินิจฉัยโรคที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน การเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ และการคลอด เขตที่อยู่อาศัยของผู้ป่วย และชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่มีแหล่งประโยชน์สำหรับการดูแลเมื่อเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ดังนั้น การดำเนินการที่จะทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมเข้าถึงบริการอย่างทันเวลานั้น ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีศักยภาพในการดูแลตนเอง และตัดสินใจเข้ารับบริการอย่างทันเวลา พัฒนาศักยภาพครอบครัว และชุมชนให้สามารถดูแลผู้ป่วย และสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้ทันเวลา
Article Details
How to Cite
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว