ผลของการสอนก่อนผ่าตัดโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติตนในผู้ป่วย ที่ได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อศึกษาผลของการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติตนในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังในสถาบันบำราศนราดูรที่มารับบริการในช่วงที่ทำการทดลอง จำนวน 60 คน แบ่งเป็น
กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน ได้รับการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 30 คน ได้รับการสอนโดยการบรรยาย การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังและยินยอมในการ
เข้าร่วมโครงการในช่วงที่ทำการทดลองระหว่าง เดือนตุลาคม 2554 – มิถุนายน 2555 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้ในการให้ยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง และแบบประเมินการปฏิบัติตัวขณะได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังและหลังได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังที่หอผู้ป่วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแตกต่างของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ด้วย chi-square test ทดสอบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และการปฏิบัติตน ภายในกลุ่มใช้ Paired sample t-test ระหว่างกลุ่มใช้ Independent sample t-test
ผลการวิจัย พบว่า การสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์และสอนแบบบรรยายส่งผลให้กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) สำหรับด้านการปฎิบัติตน พบว่าการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ทำให้ผู้ป่วยสามารถ ปฏิบัติตนได้ถูกต้องมากกว่าการสอนแบบบรรยาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01)
กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน ได้รับการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 30 คน ได้รับการสอนโดยการบรรยาย การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังและยินยอมในการ
เข้าร่วมโครงการในช่วงที่ทำการทดลองระหว่าง เดือนตุลาคม 2554 – มิถุนายน 2555 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้ในการให้ยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง และแบบประเมินการปฏิบัติตัวขณะได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังและหลังได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังที่หอผู้ป่วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแตกต่างของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ด้วย chi-square test ทดสอบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และการปฏิบัติตน ภายในกลุ่มใช้ Paired sample t-test ระหว่างกลุ่มใช้ Independent sample t-test
ผลการวิจัย พบว่า การสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์และสอนแบบบรรยายส่งผลให้กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) สำหรับด้านการปฎิบัติตน พบว่าการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ทำให้ผู้ป่วยสามารถ ปฏิบัติตนได้ถูกต้องมากกว่าการสอนแบบบรรยาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01)
Article Details
How to Cite
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว