คุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพในพื้นที่ที่มีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทนำ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ที่มีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
วิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มด้วยวิธีการแบ่งชั้นหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 คน เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป จำนวน 211 คน โรงพยาบาลชุมชนจำนวน 76 คน และสถานีอนามัย/หน่วยปฐมภูมิ 23 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อภาษาไทย ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test
ผลการวิจัย ระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง (x = 86.29, SD = 10.04) โดยมีองค์ประกอบคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย และด้านจิตใจอยู่ในระดับดี (x = 26.90, SD = 3.64; = 23.36, SD = 3.39 ตามลำดับ) ส่วนองค์ประกอบด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง (x= 11.31, SD = 1.77; = 25.04, SD = 3.98 ตามลำดับ)
ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนราธิวาสสูงกว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในจังหวัดปัตตานี แต่ไม่พบความแตกต่างของคะแนนเมื ่อเปรียบเทียบกับพยาบาลที ่ปฏิบัติงานในจังหวัดยะลา ส่วนค่าเฉลี ่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของพยาบาลที ่ปฏิบัติงานในจังหวัดปัตตานี และยะลา ไม่มีความแตกต่างกัน
Abstract
Introduction: The aim of this quantitative study was to identify the level of quality of life of nurses in the unrest areas in three southern border provinces of Thailand.
Methods: Multistage random sampling technique was used to recruit 310 nurses; 211 from general hospitals,
76 from community hospitals and 23 from public health centers. The questionnaire included demographic data and World Health Organisation’s Quality of Life in Thai version (WHOQOL) was tested for validity and reliability. Cronbach’s Alpha Coefficient of WHOQOL was .85. Data were analyzed by using descriptive statistics.
Results and Conclusion: The average QOL score of all nurses was at a moderate level (x = 86.29, SD = 10.04). Both physical and psychological dimensions were at good level (x= 26.90, SD = 3.64; x= 23.36, SD
= 3.39); while the dimensions of social and environmentwere at moderate level (x = 11.31, SD = 1.77; x = 25.04, SD = 3.98). The average QOL score of nurses working in Narathiwas province were higher compared to those in
Pattani province. There were no significant differences
in QOL scores between Pattani and Yala provinces.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว