การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อะเคื้อ กุลประสูติดิลก กุลประสูติดิลก
โสภณา จิรวงศ์นุส
ณัฐวดี จิตรมานะศักดิ์
ดุษณี ศุภวรรธนะกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทนำ  งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และเพื่อวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
วิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร จำนวน 394 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลาย ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบวัดการมองโลกในแง่ดี แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบวัดคุณภาพชีวิต สถิติที ่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี ่ย ค่าเบี ่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เส้นทางปัจจัย ผลการวิจัย ผู้สูงอายุในเขตบางเขนมีคุณภาพชีวิตในระดับสูง และโมเดลเส้นทางปัจจัยที่ส่ง
ผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x =1.930, df = 1, x
/df = 1.930, P-value = 0.165, CFI =0.999, TLI = 0.991, RMSEA= 0.013, RMR = 0.02) โดยคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตบางเขน ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากการมองโลกในแง่ดี (0.826) รองลงมา คือ การสนับสนุนทางสังคม (0.411) การเห็นคุณค่าในตนเอง (0.302) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (0.265) ตามลำดับ
2 สรุปผลการวิจัย การมองโลกในแง่ดี และการสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ส่วนการเห็นคุณค่าในตนเอง การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยส่งผ่านการมองโลกในแง่ดี ตัวแปรทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ ร้อยละ 54

Abstract
    Introduction: The aim of this research was to study factors related to the quality of life and to analyze path model of factors affecting quality of life in the elderly in Bang Khen district, Bangkok.
    Methods: Samples were 394 elderly in Bang Khen district selected by multi-stage random sampling.
     Research instruments were the optimism scale, the self-esteem scale, the social-support scale, the self-efficacy
scale and the quality-of-life scale. Data were analyged using percentage, mean, standard deviation and evaluated using path analysis.
     Results: Quality of life in the elderly in BangKhen district is on a high level. The path model affecting the quality of life is in accordance with empirical data(x2 = 1.930, df = 1, x/df = 1.930, p-value = 0.165, CFI = 0.999, TLI = 0.991, RMSEA = 0.013, RMR = 0.02).Quality of life in the elderly in Bang Khen district was based on optimism (0.826), social support (0.411), selfesteem (0.302) and self efficacy (0.265).
     Conclusion: Optimism and social support  directly and positively influenced quality of life in the elderly. Self-esteem, self-efficacy and social support were indirectly affecting quality of life by transmission optimism. All variables match the variance of quality of life in the elderly at 54 percent.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ