โมเดลเชิงสาเหตุสภาวะการท�าหน้าที่ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

Main Article Content

สุปราณี พลธนะ
สุภาภรณ์ ด้วงแพง
วารี กังใจ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาสภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุสภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
วิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่หน่วยไตเทียมมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลสงฆ์ จำนวน 186 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 4 ชุด คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสัมภาษณ์อาการ 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ และ 4) แบบประเมินสภาวะการทำหน้าที่ หาค่าความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์อาการโดยวิธีทดสอบซ้ำ(Test-Retest Reliability) ได้เท่ากับ .97 ส่วนแบบประเมินสภาวะการทำหน้าที่ และแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis)
ผลการวิจัย 1) ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีสภาวะการทำหน้าที่โดยรวมอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 (SD = 0.28) 2) โมเดลเชิงสาเหตุสภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (22= 1.206, df = 1, p value = .272,  / df = 1.206, GFI = .997, AGFI = .968, CFI = .996, NFI = .98, RMSEA = .033) โดยการสนับสนุนทางสังคมมีอิทธิพลทางตรงในทางลบต่อผลกระทบของกลุ่มอาการ และมีอิทธิพลทางตรงในทางบวกต่อสภาวะการทำหน้าที่สรุปผลการวิจัย พยาบาลควรส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมแก่ผู้ป่วยโรคไตเรื ้อรังระยะสุดท้ายที ่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื ่องไตเทียม เพื ่อลดผลกระทบของกลุ่มอาการและส่งเสริมสภาวะการทำหน้าที ่ของผู้ป่วยอันจะทำาให้ผู้ป่วยมีเพื ่อคุณภาพชีวิตที ่ดีต่อไป

Abstract

Introduction: The purposes of this research were: 1) to study the functional status in end stage renal diseasepatients undergoing hemodialysis and 2) to develop and empirically validate the causal model of functional status.Methods. Samples consisted of 186 end stagerenal disease patients undergoing hemodialysis in the Hemodialysis Unit of the Kidney Foundation of Thailand at Priest Hospital. A simple random sampling was used
to identify the participants. The instruments used for data collection included a demographic questionnaire,the Dialysis Symptom Index, the Multidimensional Scale of Perceived Social Support, and the Functional
Performance Inventory-Short Form. The test-retest reliability of the Dialysis Symptom Index was .97. The Cronbach’s alpha coefficient of the Multidimensional Scale of Perceived Social Support and Functional
Performance Inventory-Short Form were .93 and .94, respectively. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and path analysis.

Results: Overall, the end stage renal diseasepatients undergoing hemodialysis had a high level of functional status (M= 4.84, SD = 0.28). The causal model fit the data well, as indicated by excellent fit indices (
=1.206, df = 1, p value = .272, / df = 1.206, GFI = .997,AGFI = .968, CFI = .996, NFI = .98, RMSEA = .033). Social support had a diminishing effect on the symptoms anda positive effect on functional status. 2 Conclusion: The results suggest that nurses should promote social support to reduce symptoms and enhance functional status in end stage renal disease
patients undergoing hemodialysis.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ