ความเสี่ยงทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสารเคมีกำจัดแมลงในการประกอบอาชีพ ผู้ค้าผักและผลไม้สดในตลาดสด จังหวัดนครนายก

Main Article Content

ปิยะฉัตร พ้นทาส
รัตติยาพร ทองญวน
นฤมล แก้วโมรา
สิริมา มงคลสัมฤทธิ์
ศิริกุล ธรรมจิตรสกุล
กัญจน์ ศิลป์ประสิทธ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

      การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีกำจัดแมลงของผู้ค้าผักสดและผลไม้สด และศึกษาระดับสารเคมีกำจัดแมลงตกค้างในผักสด
     วิธีการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 2 แหล่ง คือ 1) ผู้ค้าผักและผลไม้สด 10 ราย ในตลาดสดจังหวัดนครนายก และ 2) ตัวอย่างผักสด 24 ตัวอย่าง ประกอบด้วย 4 ชนิด ได้แก่ ผักคะน้า ถั่วฝักยาว แตงกวา และพริก
      ผลการวิจัย ผู้ค้ามีพฤติกรรมการสัมผัสผักที่มีการใช้สารเคมีเป็นประจำ ร้อยละ 60 การอยู่ในบริเวณที่มีการฉีดพ่น ร้อยละ 40 และการเป็นผู้ฉีดพ่นเอง ร้อยละ 20 และผู้ค้ามีพฤติกรรมในขณะทำงานที ่เสี ่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีทางอ้อม ดังนี ้ การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำในบริเวณที่ทำงาน ร้อยละ 90 และไม่สวมถุงมือขณะทำงานกับสารเคมีหรือสัมผัสสารเคมี ร้อยละ 80 ด้วยเหตุนี้จึงพบว่า ผู้ค้าผักและผลไม้มีความเสี่ยงทางสุขภาพตั้งแต่ระดับต่ำ ปานกลาง ค่อนข้างสูง และสูง คิดเป็นร้อยละ 10, 30, 10 และ 30 ตามลำดับ
เมื ่อตรวจวัดสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมทที ่ตกค้างในผัก โดยทำการตรวจวัดสารเคมีที ่ปนเปื้อนในผัก จำนวน 24 ตัวอย่าง จาก 6 แผงผัก ด้วยชุดตรวจวัดสารกำจัดแมลง (จีที) พบจำนวนผัก 12 ตัวอย่าง (ร้อยละ 50) มีสารเคมีตกค้างในระดับปลอดภัย จำนวนผัก 7 ตัวอย่าง (ร้อยละ 29.2) มีสารเคมีตกค้างในระดับที่ไม่ปลอดภัย โดยผักที่ตรวจพบว่ามีสารเคมีตกค้างในระดับที่ไม่ปลอดภัย มากที่สุด คือ ถั่วฝักยาว พริกและแตงกวา โดยคะน้ามีสารเคมีตกค้างในระดับที่ไม่ปลอดภัย 1 ตัวอย่าง ดังนั้นจากข้อมูลพื้นฐานที่ได้รับอาจใช้ประโยชน์ในการหาแนวทางเพื่อป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพผู้ค้าต่อไป

Abstract

     Introduction: The purpose of this study was to evaluate the health risk of sellers of fresh vegetables and
fruits.
     Methods: We investigated the habits of 10 sellers at a local market at Ongkharak district in Nakhonnayok
province as well as the contamination of 24 samples of fresh vegetables and fruits.

Results: Sixty percent of the sellers frequently touched insecticide contaminated vegetables, 40% were in the spraying areas and 20% were spray workers. Ninety percent of the sellers were eating or drinking in the working area,and 80% did not wear gloves when working with chemicals.
Health risks of the sellers was estimated low (10%), medium (30%),relative
high (10%) and high (30%) respectively. Organophosphate and carbamate
insecticides were found in some tested vegetables by using a GT test kit.
Out of 24 vegetable samples collected from 6  stalls, 12 (50%) were
contaminated with insecticides but  within safe level whereas 7 (29.2%) were within unsafelevel. The highest level of contamination was found in
yardlong-beans, chili peppers and cucumbers. Chinese kale were the only within unsafe level. Conclusion: Data obtained in this study may be
useful for developing methods to prevent occupational diseases and promote health for the sellers.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ