วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยและการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วย ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

อนงค์ ถาวร
พร บุญมี
เกษร เกตุชู

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

       ความปลอดภัยผู้ป่วยเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญของระบบการดูแลสุขภาพและเป็นเกณฑ์ที่สำคัญของการเป็นโรงพยาบาลคุณภาพ การพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วย จำเป็นต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้และ การสร้างความตระหนักแก่บุคลากรต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างต่อเนื ่องจนเป็นอุปนิสัยที ่ปกติของการทำงาน การวิจัยครั ้งนี ้มีวัตถุประสงค์เพื ่อศึกษาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยและการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลพะเยา
วิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของ พร บุญมี ที่ดัดแปลงมาจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ (2552) มีค่าความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.95 และความเชื่อมั่นเท่ากับ0.85 แบบสอบถามการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของ พร บุญมี มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พยาบาลวิชาชีพมีวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x= 3.34, SD = 0.78) ด้านความถี ่ของการรายงานอุบัติการณ์ พบว่าพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการรายงานความเสี ่ยงทุกครั ้งกรณีมีการกระทำผิดพลาด (mistake) เกิดขึ้น และผู้ป่วยเสียชีวิตรายงานทุกครั้ง ร้อยละ 82.00 ระดับความปลอดภัยผู้ป่วยในหน่วยงานอยู่ในระดับยอมรับได้ร้อยละ 49.50 ด้านความคิดเห็นต่อการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยโดยรวมในระดับมาก ( x= 4.05, SD = 0.71) การรับรู้ต่อวัฒนธรรม  ความปลอดภัยผู้ป่วยและต่อการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยระหว่างพยาบาลวิชาชีพ ระดับบริหารและระดับปฏิบัติการมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยในด้านต่างๆ ทั้งในระดับหน่วยงานและระดับโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

Abstract

Introduction: Patient safety is a significant outcome of health care system and it is an indicator of hospital-quality. Therefore, development of patient safety is required to promote the quality of hospital care.
This survey study was aimed to examine the awareness of patients' safety among 200 registered nurses at Phayao hospital.

    Methods: We used a self-administered questionnaire. It comprised 1) patient-safety questionnaire adapted from the 2009 Institute of  Quality Assurance (reliability = 0.85) and 2) development-of-patient-safety-related questionnaire created by Boonme in 2011 (reliability = 0.92). Data were analyzed using descriptive statistics. Independent t-test was used
to compare the difference of perception between  administrative and practitioner level nurses.
   Results: The level of patient safety perceived by nurses was fair ( x = 3.34, SD = 0.77). Practitioner level nurses reported 100% of risk when mistakes occurred; while 82% of them reported risk when patient died. Barely half (49.5%) of them rated the patient safety in their unit as acceptable. The development of patient safety culture was valued at a high level (x = 4.05,
SD = 0.71). There was no difference of perception between administrative and practitioner level nurses.
    Conclusion: Our results suggest that the development of patients’ safety should be promoted in order to improve hospital's quality.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ