ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพยาบาล ในโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็ง เขตภาคกลาง Factors correlated to job stress among nurses in specialised cancer hospitals, central region of Thailand

Main Article Content

ปาณิภา เสียงเพราะ
ทัศนีย์ รวิวรกุล
อรวรรณ แก้วบุญชู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็งเขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเกี่ยวกับด้านครอบครัว แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยในงาน และแบบวัดความเครียดจากการทำงานตามรูปแบบ Demand-Control Model ของคาราเสคและ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติค่าไค-สแควร์ การทดสอบของค่าฟิชเชอร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค


ผลการศึกษา พบว่า พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ มีความเครียดจากการทำงานอยู่ในกลุ่มความเครียดสูง (High strain) คิดเป็น ร้อยละ 27.7 รองลงมา คือ กลุ่มกระตือรือร้น (Active) คิดเป็นร้อยละ 25.2 และน้อยที่สุด คือ กลุ่มความเครียดตำ (Low strain)  คิดเป็น ร้อยละ 22.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ ปัจจัยนอกงานด้านลักษณะส่วนบุคคล (ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ในการทำงาน และการอบรมเฉพาะทางโรคมะเร็ง) ด้านครอบครัว (สัมพันธภาพภายในครอบครัวและภาระความรับผิดชอบในครอบครัว) และปัจจัยในงาน (องค์กร สภาพการทำงาน และการสนับสนุนทางสังคม)นอกจากนี้ยังพบว่า การอบรมเฉพาะทางโรคมะเร็ง สภาพการทำงาน และการสนับสนุนทางสังคม สามารถทำนายโอกาสการเกิดความเครียดจากการทำงานของกลุ่มตัวอย่างได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที ่ระดับ 0.05 โดยสามารถอธิบายความผันแปรของความเครียด
จากการทำงานได้ ร้อยละ 28.0 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาใช้ในการป้องกันและให้ความช่วยเหลือบุคลากรที่มีความเครียดจากการทำงานโดยส่งเสริมมีการอบรมเฉพาะทางโรคมะเร็ง และดูแลสิ่งแวดล้อมในสถานที่ปฏิบัติงานให้ได้มาตรฐานตามอาชีวอนามัยในโรงพยาบาล รวมถึงการเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมโดยเฉพาะจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานเพื่อลดภาวะเครียดที่เกิดจากการทำงานของของพยาบาลในโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็ง

Abstract

This descriptive research was conducted to investigate factors associated with job strain among nurses working in specialised cancer hospitals in the Central Region. The samples of the study were 155 professional nurses; research instruments were questionnaires, covering different significant aspects including personal information, familial background,occupational factors, and job strain measure survey based on Karasek’s Demand-Control Model. Correlations among factors were analyzed by Chi – Square, the Fisher exact test, and logistic regression. 

The results showed that most nurses (27.7%) had job strain at hiqh level, followed by active group with 25.2 percent, and low strain representing 22.6 percent. Factors significant associated with job strain (p <0.05) were nonworking factors including personal  factors (positions, work experience, specific cancer training), family factors (family relation and family responsibility), and working factors (organization,
working conditions, and social support). It was also found that specific cancer training, working conditions, and social support could predict job strain with  statistical significance at 0.05, and were able to explain the variation of job strain at a rate of 28.0 percent.

The results from this study could be used to prevent and alleviate the personnel from job strain through the promotion of specific cancer training, which could enhance positive working environmentin accordance with occupational health standards in hospitals. The results could also help increasing social support, especially from supervisors and colleagues to reduce job strain among nurses in specialised cancer hospitals.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ